การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โดย: นางสาวรัตนากร พระโพ [IP: 182.52.56.xxx]
เมื่อ: 2022-08-09 05:41:46
ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5



ผู้วิจัย นางสาวรัตนากร พระโพ

ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563



บทคัดย่อ



การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ (ท.1)่ จํานวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบฝึกทักษะ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t–test)

ผลการวิจัย พบว่า

1. แบบฝึกทักษะเรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.17/83.84 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80

2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.75601 หรือคิดเป็นร้อยละ 75.60














ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,344