การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย

โดย: วัชรศักดิ์ สงค์ปาน [IP: 1.10.248.xxx]
เมื่อ: 2022-08-08 14:15:34
บทคัดย่อ



วัชรศักดิ์ สงค์ปาน. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย



การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยและมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้

1. เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย

2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย

3. เพื่อนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยไปใช้ในสภาพจริง

4. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย

โดยผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยแบ่งเป็น 4 ตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย การดำเนินการวิจัยในขั้นตอนนี้ จำแนกออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยส่วนที่ 2 ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการพัฒนาการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศ การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ด้านการบริหารงานวิชาการที่ปฏิบัติการในโรงเรียนรวมทั้งหมด 10 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย และตรวจสอบ ด้านความเหมาะสมและความเป็นไปโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยไปใช้ในโรงเรียน และตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ จำนวน 20 คน ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ด้านเหมาะสม ความเป็นไปได้ และอรรถประโยชน์ โดยผู้บริหารและครูโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จำนวน 114 คน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2563 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการดำเนินงานของโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย การพัฒนามุ่งเน้นการบรรลุผลในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและให้ความตระหนักในเป้าหมายทางการศึกษาที่ต้องให้ไปถึงโดยมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงและสามารถพัฒนาความเป็นเลิศได้อย่างเต็มตามศักยภาพบนพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคล มีจุดเน้นให้ครูผู้สอนจัดการจัดเรียนรู้ที่มุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาความเป็นเลิศนักเรียนด้านวิชาการอย่างหลากหลาย โดยจัดการเรียนการสอนตรงตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปัญหากระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูบางส่วนยังยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยครูเป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหาสาระวิชา ส่งผลให้นักเรียนยังขาดทักษะกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งขาดความสนใจในการเรียนเนื่องด้วยเนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอนไม่น่าสนใจ นอกจากนี้ทางด้านการวัดผล ประเมินผลยังคงใช้รูปแบบการทดสอบเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ครูผู้สอนไม่สามารถวัด และประเมินผลนักเรียนได้อย่างรอบด้าน

ความต้องการในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการวัดประเมินผลของครูโดยการจัดอบรม พัฒนาสมรรถนะของการเป็นครูผู้สอนยุคใหม่ มุ่งเน้นให้ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นการนำความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยให้ความสำคัญกับนักเรียน นักเรียนต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นและเพียงพอเพื่อนำมาสู่การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆในชีวิตประจำวัน เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการคิด ลงมือทำ สะท้อนคิด เน้นการปฏิบัติ ปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

2. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย พบว่า ประกอบด้วย

1) ทฤษฎีพื้นฐานและหลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ระบบงานและกลไกของรูปแบบ 4) วิธีการดำเนินงานของรูปแบบ สถานศึกษาต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการบริหาร PDCA 5) แนวการประเมินรูปแบบ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ มี 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ มี 6 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และการวัด ประเมินผล การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน 2) กระบวนการบริหารงานวิชาการ มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การนำ และ การควบคุม และ 3) ปัจจัยส่งเสริมการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ มี 6 องค์ประกอบย่อย ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สมรรถนะครู การทำงานเป็นเครือข่าย เทคโนโลยีสารสนเทศ ความร่วมมือของผู้ปกครอง และวัฒนธรรมองค์การ ทั้ง 3 องค์ประกอบหลัก 16 องค์ประกอบย่อย ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา แล้วเห็นว่ามีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และคู่มือการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน

3. ผลการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยไปใช้ในสภาพจริง

ผลการใช้การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย พบว่า โรงเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี สามารถดำเนินการตามขั้นตอนในคู่มือการใช้รูปแบบ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมดำเนินงานตามขั้นตอนสามารถ ทั้งการจัดประชุมเพื่อผลักดันรูปแบบสู่การปฏิบัติ ชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติให้ทุกฝ่ายเข้าใจ ระบุเป้าหมาย จัดทำแผนกลยุทธ์ ตัวชี้วัดกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงาน โครงการกิจกรรมจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมาย โดยให้ความสำคัญกับสิ่งที่ต้องทำก่อน-หลัง กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ จัดระบบข้อมูลสารสนเทศ จัดหาเครื่องมือเพื่อใช้ในการดำเนินงาน ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และวิเคราะห์ผลลัพธ์เป็นไป อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพครอบคลุมทุกด้าน

4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ผลการประเมินพบว่า รูปแบบมีคุณภาพอยู่ในระดับมากและมากที่สุดทุกด้าน รูปแบบได้รับการยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีคุณภาพด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และอรรถประโยชน์ ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 สูงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาคเรียนที่ 1, 2 ปีการศึกษา 2563 และในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และจะเห็นได้ว่า ร้อยละของผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชาของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 มีค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 86.47 และ 86.25 ตามลำดับ ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนกำหนด



Abstract

Watcharasuk Songpan. (2022). The Development of Academic Management Models to Enhance Academic Performance to Excellence for Students of Phuket Wittayalai School.

The main objectives of this research are to develop a model of academic administration to enhance academic performance to excellence for students of Phuket Wittayalai School, which the objectives are as follows:

1. To study the conditions, problems and the needs of academic administration in order to raise the academic performance to excellence for students of Phuket Wittayalai School.

2. To develop a model of academic administration in order to enhance the academic performance to excellence for students of Phuket Wittayalai School.

3. To apply the model of academic administration in practice to enhance the academic performance to excellence for students of Phuket Wittayalai School.

4. To evaluate the use of the Academic Management Model to the academic performance to excellence for students of Phuket Wittayalai School.

The researcher conducted the research by dividing the research into 4 parts as follows:

Step 1: Studying the condition, problems and needs of academic administration in order to enhance academic performance to excellence for students of Phuket Wittayalai School. The research conducted at this stage is divided into 2 parts as follows:

Part 1: Academic papers, concepts, theories and research related to academic administration had been reviewed to enhance academic performance to excellence among students of Phuket Wittayalai School.

Part 2: The conditions, problems and needs for the development of academic administration had been studied in order to enhance academic performance to excellence, in which a group discussion with 10 experts in the academic administration that operates in schools had been carried out.

Step 2: Developing a model of academic administration to enhance academic performance to excellence for students of Phuket Wittayalai School and examining the suitability and adequacy by 9 experts.

Step 3: Applying the Academic Management Model to practice, enhancing academic performance to excellence for students of Phuket Wittayalai School students and examine the feasibility of the academic administration model by the Curriculum and Academic Affairs Committee, in total of 20 people.

Step 4: Evaluate the use of the Academic Management Model to enhance academic performance to excellence for students of Phuket Wittayalai School in the context of appropriateness, feasibility and utility. A total of 114 administrators and teachers of Phuket Wittayalai School had compared the academic performance of students from the academic year 2020 and 2021. The statistics used in the data analysis include the frequency, percentage, mean, standard deviation. and content analysis

The results of the research found that

1. Operating conditions of Phuket Wittayalai School where the development focuses on achieving results in academic performance and awareness of educational goals that must be achieved by focusing on students to acquire practical learning skills and be able to achieve excellence to their full potential based on differences among one another. Moreover, there is an emphasis for teachers to manage a student-centered learning environment along with educational institutions having a process to develop students' academic excellence in a variety of areas by providing teaching and learning in accordance with the indicators set forth in the basic education curriculum.

Problems in the teaching and learning process includes some teachers still adhere to lecture teaching style where the teacher is the one who conveys the subject matter. As a result, students lack self-learning skills. Furthermore, they also lack interest in learning due to the tedious content and teaching process. In addition, in terms of assessment and evaluation, teachers mainly assess using tests and exams. As a result, teachers are unable to measure and evaluate students in all aspects.

There is a need to improve the learning process and teacher evaluation by organizing training and developing the competence of being a new era teacher. The focus should be on teachers to manage learning that emphasizes the integration of knowledge, skills, and attributes in teaching and learning management. Furthermore, encouraging teachers to manage Active Learning by giving importance to students is essential as well. Students need to develop the necessary and sufficient knowledge and skills to be applied in different situations in daily their lives. Students must be provided with the opportunities participate in their learning. They need to be able to build their own way of knowledge. Let the students learn from thinking, doing, things by themselves. In addition, they need to reflect on thinking, and emphasize on practice to continuously improving and developing themselves.

2. The development of academic management model to raise learning achievement to excellence among students of Phuket Wittayalai School found that:

1) Basic theory and principles of patterns

2) Purpose of the form

3) Work systems and mechanisms of the model

4) Method of operation of the model educational institutions must operate in a systematic manner for continuous development with the PDCA administration process

5) Model assessment guidelines

6) Success conditions have 3 main components:

1. The scope of academic administration which has 6 sub-components: educational institution curriculum development; development of learning processes and measurement and evaluation; research to improve educational quality; media development; learning resources; innovation and technology; and developing an internal quality assurance system.

2. The process of academic administration which has 4 sub-components: planning; organization; leadership; and control.

3. Factors promoting academic administration towards excellence comprised of 6 sub-components: executive leadership; teachers’ competency; networking; information technology; parental cooperation; and organizational culture.

All of the mentioned 3 main components consist with 16 sub-components that experts consider and see that it is appropriate and possible at the highest level and a manual for developing a model of academic administration. This is to raise learning achievements to excellence for students of Phuket Wittayalai School, who are considered appropriate, and there is a possibility at the highest level as well.

3. The results of applying the academic management model to raise the academic achievement to the excellence of students of Phuket Wittayalai School to use in real conditions.

The results of using the development of academic management model to enhance learning achievement, to the excellence of the students of Phuket Wittayalai School, was found that the school cooperated very well. The school was able to follow every step in the manual. All parties were able to participate in the implementation of the procedures. This included organizing meetings to push the model into action, clarifying operational procedures to create mutual understanding, specifying goals, formulating strategic plans, indicators, action plans. In addition, creating a goal priority activities project which focuses on what needs to be done before and after. Also, to assign duties and responsibilities, as well as organize information system. Moreover, provide tools for implementing, monitoring, auditing, evaluating, and analyzing of results in systematical way with the quality that cover all aspects.

4. The results of the evaluation of the use of the academic management model to enhance the achievement Learning for excellence for students of Phuket Wittayalai School found that the quality of the model is at a very high level in all aspects. The format is accepted at the highest level. Furthermore, the results of the model evaluation found that the model had quality in terms of suitability, possibility, and utility. Both overall and in each aspect are at the highest level.

The achievement in all 8 learning subject groups from the first semester of the academic year 2021, were higher than the first and second semesters of the academic year 2020. It can be seen that the percentages of grade point average of all subjects of the students in the 9th grade (Mattayom 3) and the 10th grade (Mattayom 4) had the average percentage of 86.47 and 86.25 respectively, which were considered to pass the criteria set by the school.




ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,431