เผยแพร่ผลงานวิชาการ ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ REPSAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

โดย: นางสาวทิฆัมพร มีไพบูลสกุล [IP: 184.22.60.xxx]
เมื่อ: 2022-08-04 23:30:48
บทคัดย่อ



การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ REPSAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ REPSAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ REPSAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ REPSAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) เทศบาลนครตรัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 39 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) รูปแบบ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ REPSAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 22 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) 0.86 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.81 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น ( ) 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

สภาพที่คาดหวังมุ่งปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นพลังความคิดขั้นสูง คำนึงถึงทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะ 3R และ 7C เน้นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดเป็นระบบ เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พร้อมที่จะประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษาหรือสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ส่วนการคิดได้กำหนดนโยบาย ไว้ว่าให้มีการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ ความคิดและคุณธรรม โดยมีเป้าหมายให้คนไทยทุกคนมีทักษะในการคิด การวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีจุดหมายพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและทักษะชีวิต ในส่วนของสภาพปัจจุบัน ยังยึดครูเป็นศูนย์กลาง มุ่งสอนเนื้อหาวิชาเป็นหลัก ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด ไม่เน้นการคิดแบบองค์รวม ไม่ฝึกการคิดวิเคราะห์และการคิดที่มีเหตุผล การที่ผู้เรียนด้อยความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นเหตุให้ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและวางแผนในอนาคต และนำความรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และการสอนคิดหลายด้าน ได้แก่ ต้องการความรู้ในการจัดการเรียนการสอนและวิธีการจัดการเรียนการสอนคิดวิเคราะห์ที่มีประสิทธิผล แนวการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น ต้องการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ที่ชัดเจนขึ้นตามลำดับขั้นตอน ต้องการการจัดการเรียนรู้ที่เร้าความสนใจ ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญหรือสืบเสาะหาความรู้ ต้องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ เข้าใจและมีความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน โดยบูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์ในการแก้ไขประเด็นปัญหาที่ผู้สอนได้ตั้งขึ้น

ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ REPSAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. ขั้นตอนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 3.1 ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Review Knowledge : R) 3.2 ขั้นเพิ่มความรู้ใหม่ (Escalation : E) 3.3 ขั้นฝึกทักษะ (Practice : P) 3.4 ขั้นสรุป (Synopsis : S) 3.5 ขั้นนำไปใช้ (Apply : A) และ3.6 ขั้นการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation : T) 4. ระบบสังคม และ 5. การวัดและประเมินผล

รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ REPSAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.83/81.80 เป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนด 80/80

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ REPSAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ REPSAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ REPSAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67 S.D=0.23)


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,823