การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย

โดย: นายมณู ดีตรุษ [IP: 202.29.224.xxx]
เมื่อ: 2022-08-01 13:44:00
1 ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย



2 ชื่อผู้ประเมิน นายมณู ดีตรุษ



3 ความเป็นมาและความสำคัญ



การศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ เสริมสร้างสติปัญญา พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการประกอบชีพที่สุจริต และเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพของประเทศชาติซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน การศึกษาพัฒนามนุษย์ให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น มีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่งนอกเหนือจากความจำเป็นด้านที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุกๆ ด้านของชีวิต และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิต ในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาจึงยิ่งมีบทบาทและความจำเป็นมากขึ้นด้วยในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง และให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนด้านอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการจ้างงานทั้งภาคธุรกิจบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาชีพที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน ที่กำลังขยายตัวในทุกภาคส่วน กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่ผลิตกำลังคน จำเป็นอย่างยิ่งต้องเร่งประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ ให้นักเรียนหันมาสนใจเรียนทางด้านอาชีพ ซึ่งมีตลาดรองรับมากขึ้น แต่เนื่องจากสภาพปัจจุบัน ค่านิยมของผู้ปกครองและผู้เรียนมุ่งที่จะเรียนทางด้านสามัญเพื่อเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา ส่งผลให้ขาดกำลังคนในภาคแรงงานเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายให้มีการจัดการศึกษาหลักสูตรเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาควบคูกันไป เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีความรู้พื้นฐานทางด้านสามัญและอาชีพ และสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ทันที การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพถือเป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับตลาดแรงงาน สามารถผลิตกำลังคนในระดับฝีมือที่ได้มาตรฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจำเป็นต้องจัดการอาชีวศึกษาอย่างหลากหลาย เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพให้แก่ประชาชนวัยเรียนและวัยทำงานตามความถนัดและความสนใจ และเข้าเรียนอาชีวศึกษาง่ายขึ้น ด้วยการขยายวิชาชีพและกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ระบบการจัดการอาชีวศึกษาได้อย่างทั่วถึง อันเป็นทางเลือกสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีความประสงค์จะเรียนควบคู่กันไปทั้งการศึกษาทางสามัญและทางวิชาชีพ โดยจัดให้มีห้องเรียนอาชีพร่วมกัน มีการดำเนินการ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การจัดหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้และสามารถทำได้ หรือประกอบอาชีพได้ และรูปแบบที่ 2 การจัดการเรียนรู้อาชีพที่จัดเป็นหน่วยการเรียน โดยกำหนดให้เรียนในรายวิชาพื้นฐาน หรือวิชาเลือก ซึ่งผู้เรียนสามารถนับและเก็บหน่วยกิต เพื่อนำไปศึกษาต่อในสายอาชีพทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

การจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะด้านให้แก่ประชาชน โดยกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นผลิตผู้มีสมรรถนะเฉพาะทางในการประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพเดิม อาชีพเสริม หรือเปลี่ยนอาชีพใหม่ ในลักษณะของการศึกษาตลอดชีวิต โดยเป็นการจัดการศึกษา และฝึกอบรมอาชีพโดยจัดแบบเปิด หรือยืดหยุ่น เพื่อให้ได้หน่วยสมรรถนะของอาชีพ

ปัจจุบันวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ได้จัดการเรียนรู้ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และนอกจากนั้นได้จัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นให้แก่ประชาชนที่มีความต้องการ และนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ประเมินจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นที่จัดการศึกษาให้กับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าว

การประเมินโครงการไม่ใช่เป็นการมุ่งตรวจสอบหรือจับผิดการทำงาน หรือการดำเนินงานโครงการใดโครงการหนึ่ง แต่การประเมินจะช่วยทำให้ข้อมูล (data) ที่มีอยู่ให้กลายเป็นสารสนเทศ (information) ที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจแก่ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาโครงการ ขยายหรือยกเลิกโครงการ ดังนั้นการดำเนินงานในแต่ละโครงการจึงจำเป็นต้องอาศัย สารสนเทศจากการประเมินเป็นข้อมูลสำคัญตลอดระยะเวลาในการดำเนินการ เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศดังกล่าว เพื่อการตัดสินใจเลือกทางเลือกในการพัฒนาโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โครงการนี้จึงสมควรได้รับการประเมินโครงการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาหรือปรับปรุง ผลการประเมินโครงการที่ได้จะเป็นข้อมูลสำคัญ เพื่อพิจารณาถึงส่วนดี ส่วนบกพร่อง และส่วนที่ควรปรับปรุงแก้ไขของการจัดการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และรายละเอียดของการประเมินที่ได้จากการประเมินโครงการนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้ผู้รับผิดชอบได้ตัดสินใจในการปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง





4 วัตถุประสงค์ของการประเมิน



เพื่อประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ในด้านต่างๆ คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ



5 กรอบแนวคิดการประเมิน



ในการประเมินครั้งนี้ ผู้ประเมินมุ่งศึกษา การประเมินจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้รูปแบบการประเมิน 4 ด้าน ตามแบบจำลองซิป (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L.Stufflebeam) ในการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย เพราะเป็นรูปแบบการประเมินที่ให้ความสนใจต่อการจัดโครงการ รูปแบบการประเมินซิปช่วยในการหาข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารในการดำเนินโครงการ เพราะเป็นการประเมินอย่างมีระบบแบบแผนที่ชัดเจน และสามารถนำไปใช้ในการประเมินโครงการต่างๆ และรูปแบบการประเมินซิปให้ความต่อเนื่องในการเก็บข้อมูลและทางเลือกที่เป็นประโยชน์ ข้อมูลการตัดสินใจ สรุปข้อเสนอแนะในการปรับปรุง โดยมีรูปแบบการประเมิน ดังนี้

1 การประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (context evaluation : C) เป็นการประเมินให้ได้ข้อมูลสำคัญ เพื่อช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ เป็นการตรวจสอบว่าโครงการที่จะทำสนองปัญหาหรือความต้องการจำเป็นที่แท้จริงหรือไม่ วัตถุประสงค์ของโครงการชัดเจน เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายขององค์การหรือไม่ เป็นโครงการที่มีความเป็นไปได้ในแง่ของโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ หรือไม่ เป็นต้น

การประเมินสภาวะแวดล้อมจะช่วยในการตัดสินเกี่ยวกับเรื่องใด โครงการควรจะทำในสภาพแวดล้อมใด ต้องการจะบรรลุเป้าหมายอะไร หรือต้องการบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะอะไร เป็นต้น

2 การประเมินปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยป้อน (input evaluation : I) เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม และความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ เช่น งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เวลา รวมทั้งเทคโนโลยีและแผนการดำเนินงาน เป็นต้น

การประเมินผลแบบนี้จะทำโดยใช้เอกสารหรืองานวิจัยที่มีผู้ทำไว้แล้ว หรือใช้วิธีการวิจัยนำร่องเชิงทดลอง (pilot experimental project) ตลอดจนอาจให้ผู้เชี่ยวชาญมาทำงานให้ อย่างไรก็ตาม การประเมินผลนี้จะต้องสำรวจสิ่งที่มีอยู่เดิมก่อนว่ามีอะไรบ้าง และตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการใด ใช้แผนการดำเนินงานแบบไหน และต้องใช้ทรัพยากรจากภายนอก หรือไม่

3 การประเมินกระบวนการ (process evaluation : P) เป็นการประเมินระหว่างการดำเนินงานโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย เพื่อหาข้อบกพร่องของการดำเนินโครงการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ให้การดำเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการตรวจสอบกิจกรรม เวลา ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการ โดยมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานทุกขั้นตอน การประเมินกระบวนการนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการค้นหาจุดเด่น หรือจุดแข็ง (strengths) และจุดด้อย (weakness) ของนโยบาย/แผนงาน/โครงการ ที่ไม่สามารถศึกษาได้ภายหลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว

การประเมินกระบวนการจะมีบทบาทสำคัญในเรื่องการให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นระยะๆ เพื่อการตรวจสอบการดำเนินของโครงการโดยทั่วไป การประเมินกระบวนการมีจุดมุ่งหมาย คือ

3.1 เพื่อการหาข้อบกพร่องของโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ในระหว่างที่มีการปฏิบัติการ หรือการดำเนินงานตามแผนนั้น

3.2 เพื่อหาข้อมูลต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการ

3.3 เพื่อการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการดำเนินงานของโครงการ

4 การประเมินผลผลิต (product evaluation : P) ประกอบด้วยการประเมิน 2 ด้าน คือ

4.1 การประเมินผลผลิต (output) ได้แก่การดำเนินผลตามโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย

4.2 ด้านผลกระทบ (impact) ประเมินเกี่ยวกับความสำเร็จและคุณภาพของผลผลิตตามความพอใจของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผู้เรียน คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย



6 ขอบเขตของการประเมิน



ในการประเมินครั้งนี้ผู้ประเมินได้ศึกษา ดังนี้

1.4.1 การประเมินผลโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ของวิทยาลัยการอาชีพด่านซ้าย จังหวัดเลย ใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต

1.4.2 ประชากรเป้าหมายในการประเมินครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน และผู้เรียนในห้องเรียนอาชีพ

1.4.3 ระยะเวลาในการประเมิน ผู้ประเมินได้ใช้เวลาในการประเมินตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ. 2564-เดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นเวลา 12 เดือน



7 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง



การประเมินโครงการ หมายถึง กิจกรรมที่เป็นกระบวนการ การเก็บรวบรวมข้อมูลของการดำเนินโครงการมาวิเคราะห์จุดเด่น-จุดด้อย ข้อเท็จจริง ถึงระดับความสำเร็จ ความผิดพลาด ปัญหาอุปสรรค ผลกระทบต่อโครงการอย่างมีระบบ เชื่อถือได้ ในส่วนที่น่าจะไปเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน การปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพหรือจะยุติการดำเนินงานโครงการนั้นเสีย

การประเมินโครงการมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการได้มาซึ่งข้อมูลหรือสารสนเทศที่สามารถพิจารณาได้ว่าการดำเนินการตามโครงการบรรลุผลมากน้อยตามวัตถุประสงค์ของโครงการนั้นๆ มากน้อยเพียงใด และยังสามารถที่จะพิจารณาได้ว่าวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้นั้น มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการดำเนินการมากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประเมินโครงการจะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินการของโครงการเพื่อที่จะปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ในการประเมินโครงการเป็นกระบวนการที่สามารถทำได้เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของโครงการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สามารถใช้ในการพิจารณาการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้ามผลการประเมินจะไม่เกิดประโยชน์หากผลการดำเนินโครงการนั้นไม่สามารถนำไปใช้ในเวลาที่เหมาะสม เช่น การประเมินผลเมื่อโครงการสิ้นสุดลง ผู้ประเมินจะได้เฉพาะสารสนเทศตอนสิ้นสุดโครงการเท่านั้น และถ้าผลการประเมินที่ได้จากโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ประเมินก็จะไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังไปยังช่วงเวลาที่ดำเนินงาน จะได้เพียงความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งยากที่จะยืนยันความถูกต้องของข้อมูล นอกจากนี้ผู้ประเมินจะไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน โครงการจึงไม่ประสบความสำเร็จทำให้ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าอะไรคือสาเหตุที่สำคัญ สิ่งเหล่านี้ ไม่เป็นผลดีต่อการดำเนินงานในปีถัดไป การประเมินผลโครงการเป็นกระบวนการที่จะบ่งชี้ถึงคุณค่าหรือประสิทธิภาพของสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อการบรรลุผลสำเร็จในการบริหารโครงการ สำหรับการประเมินผลโครงการโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อศึกษาว่า วัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุนั้นยังเป็นวัตถุประสงค์ที่ยังมีความเหมาะสม และมีความสอดคล้องกับสถานการณ์อยู่หรือไม่ นอกจากนี้ยังเป็นการค้นหาวัตถุประสงค์ที่กำหนดเพื่อพิจารณาหลักการและเหตุผลของแผนงานที่ต้องการบรรลุผลสำเร็จ และกำหนดแนวทางการแก้ไขความล้มเหลวของการปฏิบัติ รวมทั้งเพื่ออำนวยการโดยใช้เทคนิคสำหรับการเพิ่มประสิทธิผลและเพื่อเป็นพื้นฐานในการวิจัยเพื่อแสวงหาข้อมูล สำหรับผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างเหมาะสมในการดำเนินโครงการยิ่งขึ้นในอนาคต ในด้านประโยชน์ของการประเมินผลโครงการนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประการ เช่น เพื่อใช้ผลจากการประเมินผลโครงการในการวางแผนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศ จากผลการประเมินโครงการในการวางแผนและตัดสินใจดำเนินโครงการในอนาคต และสามารถเพิ่มความรอบคอบในการตัดสินใจดำเนินโครงการในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งผลการประเมินโครงการสามารถนำผลสำเร็จมาสู่องค์การ และลดอุปสรรคจากการดำเนินโครงการนำไปปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป นอกจากนี้การประเมินผลโครงการยังสามารถสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติ เนื่องจากการประเมินผลโครงการจะทำให้ผู้บริหารสามารถศึกษาและวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงงาน และแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ มาใช้ปฏิบัติในครั้งต่อไป

กระบวนการประเมินโครงการมีขั้นตอนดังนี้

1) หลักการเหตุผล และความสำคัญของการประเมินโครงการ

2) ประเมินโครงการเพื่ออะไร : การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ

3) ประเมินอะไร : การวิเคราะห์โครงการ

4) ประเมินได้อะไร : การออกแบบการประเมิน

5) ข้อมูลที่ต้องการมีอะไรบ้างหรือจะได้ข้อมูลเหล่านั้นด้วยวิธีใด

6) จะแยกและย่อสรุปข้อมูลเพื่อให้มีความหมายได้อย่างไร : การวิเคราะห์ข้อมูล

7) ผลการประเมินเป็นอย่างไรจะให้ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจทราบได้อย่างไร : การเขียนรายงานและการรายงานผลการประเมิน

การประเมินโครงการมีประโยชน์ในการกำหนดวัตถุประสงค์ และมาตรฐานของการดำเนินงานมีความชัดเจนทำให้องค์กรได้รับประโยชน์เต็มที่ ทำให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ เพราะโครงการเป็นส่วนหนึ่งของแผน ดังนั้นเมื่อโครงการได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ดำเนินการไปด้วยดีช่วยการแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบ (impact) ของโครงการ และทำให้โครงการมีข้อที่ทำให้ความเสียหายน้อยลง ทำให้การควบคุมคุณภาพของงาน เพราะการประเมินโครงการเป็นการตรวจและควบคุมชนิดหนึ่ง ช่วยในการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการ ทำให้การวางแผนหรือการกำหนดนโยบายของผู้บริหารและฝ่ายการเมืองเป็นสารสนเทศ ช่วยการตัดสินใจในการบริหารโครงการ

สรุปแนวคิดการประเมินโครงการแบบจำลองซิป ได้ดังนี้

การประเมินบริบท หมายถึง การประเมินเกี่ยวกับสิ่งที่จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ เป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกโครงการ แต่มีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการ ได้แก่ ความต้องการของชุมชน และกลุ่มเป้าหมายที่จะรับบริการจากโครงการ จำนวนประชากร กระแสทิศทางของสังคมและการเมือง สภาพเศรษฐกิจ และปัญหาของชุมชน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานระดับบนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ หมายถึง การประเมินทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการนำมาใช้ในการดำเนินโครงการกำลังคนหรือจำนวนบุคคลที่ต้องใช้งบประมาณแหล่งเงินทุนสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อาคารสถานที่ เครื่องมือและครุภัณฑ์การประเมินปัจจัยนำเข้าจะช่วยในการพิจารณาตัดสินใจว่าโครงการนั้นๆ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่จะทำให้วัตถุประสงค์ของโครงการบรรลุผลสำเร็จหรือไม่ และช่วยให้เกิดการวางแผนการจัดกิจกรรมของโครงการได้อย่างเหมาะสม การประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ เป็นการประเมินเกี่ยวกับวิธีการจัดกิจกรรมของโครงการ การนำปัจจัยเข้ามาให้เหมาะสมมากน้อยเพียงไรเป็นไปตามลำดับขั้นตอนหรือไม่ กิจกรรมที่จัดขึ้นจะก่อให้เกิดการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการหรือมีอุปสรรคใดๆ เกิดขึ้นเพื่อจะได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้รัดกุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น การประเมินผลผลิตของโครงการ เป็นการประเมินเกี่ยวกับวิธีการจัดกิจกรรมของโครงการ การนำปัจจัยเข้ามาใช้เหมาะสมมากน้อยเพียงไร เป็นไปตามลำดับขั้นตอนหรือไม่ กิจกรรมที่จัดขึ้นจะก่อให้เกิดการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการหรือมีอุปสรรคใดๆ เกิดขึ้น ผลที่ได้รับทั้งหมดจากการดำเนินโครงการได้ผลมากน้อยเพียงใด เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้หรือไม่ การประเมินผลผลิตจะมีการนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการ เพื่อที่จะได้นำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้รัดกุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือเพื่อการตัดสินใจปรับปรุงขยายโครงการนำไปใช้ต่อเนื่องต่อไป และเพื่อล้มเลิกโครงการ



8 วิธีดำเนินการประเมิน



8.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร

การประเมินครั้งนี้ผู้ประเมินได้ศึกษากับประชากรโดยศึกษาจากผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 255 คน และครูผู้สอน 12 คน

กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ประเมินได้ดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด เนื่องด้วยกลุ่มประชากรในแต่ละปีการศึกษามีจำนวนไม่มากเกินไป

8.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินและเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ เกี่ยวกับความคิดเห็นของครูผู้สอน และผู้เรียน ที่สร้างตามกรอบการประเมิน 4 ด้าน คือ

- ด้านบริบท สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน เกี่ยวกับโครงการ เช่น หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม วิธีดำเนินการ หลักสูตร เป็นต้น

- ด้านปัจจัยเบื้องต้น สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน เกี่ยวกับ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง อาคารสถานที่ ระยะเวลา สื่อการสอน เป็นต้น

- ด้านกระบวนการ สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน และผู้เรียน เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การนิเทศ กำกับ ติดตาม การวัดผลและการประเมินผล ระยะเวลาในการดำเนินการ เป็นต้น

- ด้านผลผลิต สอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน และผู้เรียน เกี่ยวกับความรู้ ความสามารถของผู้เรียนที่ได้รับหลังการเรียนการสอน

8.3 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลข้อมูล

นำแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาตรวจหาความสมบูรณ์ของแบบสอบถามแต่ละฉบับ แล้วดำเนินการจัดทำตามขั้นตอน ทำการบันทึกคำตอบในแบบสอบถาม เพื่อประเมินผล โดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) สำหรับแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) มีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

5 หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการฯ มากที่สุด

4 หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการฯ มาก

3 หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการฯ ปานกลาง

2 หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการฯ น้อย

1 หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อโครงการฯ น้อยที่สุด

การหาค่าเฉลี่ยของแต่ละระดับ โดยการแปลความหมายของค่าเฉลี่ยโดยกำหนดช่วงค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็น เพื่อแปลผลตามเกณฑ์ของเบสท์ (Best, 1981) มีรายละเอียดดังนี้

4.50-5.00 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะสั้นในด้านนั้นๆ มากที่สุด

3.50-4.49 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะสั้นในด้านนั้นๆ มาก

2.50-3.49 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะสั้นในด้านนั้นๆ ปานกลาง

1.50-2.49 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะสั้นในด้านนั้นๆ น้อย

1.00-1.49 หมายถึง ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระยะสั้นในด้านนั้นๆ น้อยที่สุด

ค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน





9 ผลการประเมิน



9.1 ผลการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน

9.1.1 ข้อมูลทั่วไปของครูผู้สอน

ข้อมูลทั่วไปของครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จากการประเมินพบว่าเป็นเพศชายจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 66.66 เป็นเพศหญิง จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 33.34 ส่วนอายุ อยู่ระหว่าง 40–49 ปี จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 83.34 และอายุต่ำกว่า 30 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 16.66 ส่วนวุฒิการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีทั้งหมด

9.1.2 ผลการประเมินด้านบริบท

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในด้านบริบท พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 7 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ เป้าหมายของโครงการมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ เนื้อหาวิชามีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุด และวิธีการดำเนินโครงการสามารถที่จะปฏิบัติได้จริง อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ การกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก

9.1.3 การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 8 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของโครงการมีศักยภาพในการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ บุคลากรที่ร่วมดำเนินโครงการมีความรู้ความสามารถในการดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ วัสดุอุปกรณ์มีความเพียงพอในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก

9.1.4 การประเมินด้านกระบวนการ

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในด้านกระบวนการ พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 6 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 4 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ กิจกรรมที่ปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนสอดคล้องกับเป้าหมาย อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ระยะเวลาในการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับหลักสูตรที่กำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด และมีการวางแผนในการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมาก มีการวัดผล ประเมินผลผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก การบริหารจัดการโครงการมีความชัดเจน เป็นระบบ อยู่ในระดับมาก และบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับมาก

9.1.5 การประเมินด้านผลผลิต

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในด้านผลผลิต พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ และความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 6 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ มีการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนการสอนทุกขั้นตอน อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้เรียนมีความพร้อมในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยสอดคล้องกับผู้เรียนทุกคน อยู่ในระดับมากที่สุด และใช้สื่ออุปกรณ์ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม ได้ประโยชน์คุ้มค่า อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อครูผู้สอน และเพื่อนนักเรียน อยู่ในระดับมาก

9.1.6 ผลการประเมินในภาพรวม

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในภาพรวม พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 2 ข้อ และข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น อยู่ในระดับมาก

9.2 ผลการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน

9.2.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้เรียน

ข้อมูลทั่วไปของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จากการประเมินพบว่าเป็นเพศชาย จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 53.50 เป็นเพศหญิง จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 46.50 ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 13-14 ปี จำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 80.60 และอายุระหว่าง 15-16 ปี จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 19.40 ส่วนวุฒิการศึกษาที่กำลังศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 71.00 และอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1–6 จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 29.00



9.2.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการ

จากการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นในห้องเรียนอาชีพ สู่การศึกษา 4.0 ตามควา

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,675