เรียนรู้ Coding ผ่านธุงใยแมงมุม

โดย: นางสุภาวดี วรรัตน์ [IP: 118.172.228.xxx]
เมื่อ: 2022-07-19 10:36:20
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เวลา 1 ชั่วโมง

เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Scratch เวลา 8 ชั่วโมง

รายวิชา วิทยาการคำนวณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4



1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

สาระที่ 4 เทคโนโลยี

มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทันและมีจริยธรรม

ตัวชี้วัด ป.4/2 ออกแบบ และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์ หรือสื่อ และตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข



2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายลำดับขั้นตอนการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ได้ (K)

2. ออกแบบสร้างโปรแกรมจาก Scratch ตามขั้นตอนที่กำหนดได้ (P)

3. เห็นประโยชน์ของการศึกษาโปรแกรม Scratch (A)



3. สาระสำคัญ

โปรแกรม Scratch เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นบล็อกโปรแกรม (block) นำมาต่อกันเพื่อสร้างรหัสคำสั่ง (Code) เพื่อสั่งให้โปรแกรม Scratch ทำงานตามที่ได้เขียนโปรแกรมไว้ สามารถนำมาใช้พัฒนาซอฟต์แวร์เชิงสร้างสรรค์ โดยต้องกำหนดตัวแปร เขียนโปรแกรมอย่างมีเงื่อนไข เขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ และเขียนโปรแกรมสร้างรูปเรขาคณิตต่างๆ เพื่อใช้ทำธุงใยแมงมุม



4. สาระการเรียนรู้

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Scratch



5. รูปแบบการสอน/วิธีการสอน

1. รูปแบบการสอนแบบการอภิปราย

2. เทคนิคตามแนวคิดเชิงคำนวณ



6. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

 ความสามารถในการสื่อสาร

 ความสามารถในการคิด

 ความสามารถในการแก้ปัญหา

• ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี



7. ทักษะ 4 Cs

 ทักษะการคิดวิจารณญาณ (Critical Thinking)

 ทักษะการทำงานร่วมกัน (Collaboration Skill)

 ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill)

ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)



8. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

• รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ • ซื่อสัตย์ สุจริต

 มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้

• อยู่อย่างพอเพียง  มุ่งมั่นในการทำงาน

• รักความเป็นไทย • มีจิตสาธารณะ

9. การจัดกระบวนการเรียนรู้



ขั้นนำ

1. ครูให้นักเรียนดูธุงใยแมงมุม แล้วถามโดยใช้คำถามดังนี้

- นักเรียนว่าเคยเห็นธุงใยแมงมุมหรือไม่

- ธุงใยแมงมุมใช้ทำอะไร มีประโยชน์อย่างไร

- ธุงใยแมงมุมมีลวดลายแบบไหนบ้าง



ขั้นสอน

2. ครูให้นักเรียนค้นภาพธุงใยแมงมุมใน www.google.co.th ว่ามีลวดลายอย่างไรบ้างแล้วช่วยกันรวบรวมลายธุงให้ได้มากที่สุด







3. ครูให้นักเรียนเลือกว่าลายธุงใยแมงมุมใดง่ายที่สุด เพื่อที่จะนำมาเขียน coding สร้างธุงใยแมงมุมในโปรแกรม scratch

4. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนช่วยกันเขียนรหัสลำลองขั้นตอนการสร้างลายธุงใยแมงมุม จากนั้นเขียนเป็นผังงาน ขั้นตอนการสร้างลายธุงใยแมงมุม













ตัวอย่างรหัสลำลอง ตัวอย่างผังงาน

เริ่มต้น

เดินตรงไป

หัน 90 องศา

ทำซ้ำสี่รอบ

เปลี่ยนตำแหน่ง

เดินตรงไป

หัน 90 องศา

ทำซ้ำสี่รอบ

จบการทำงาน













5. ครูสุ่มนักเรียน 2-3 คน เพื่ออธิบายการทำงานของโปรแกรมของตนเอง และสอบถามเพื่อน ๆ ว่ามีขั้นตอนการทำงานแตกต่างจากเพื่อนหรือไม่ อย่างไร

6. ครูอธิบายทบทวนขั้นตอนการทำงานโปรแกรมภาษา Scratch และส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม

7. ครูให้นักเรียนช่วยกันคิดว่าถ้าถ้าเราจะเขียน coding ในโปรแกรม scratch ตามผังงานที่เขียนไว้จะมีขั้นตอนอย่างไร

8. นักเรียนช่วยกันออกแบบว่าจะใช้ stage เป็นแบบใดในการสร้างลายจึงจะทำให้ง่าย





9. นักเรียนช่วยกันออกแบบ coding ตามที่วางแผน โดยการเลือกสีและลวดลายด้วยตนเองโดยมีครูคอยแนะนำ













10. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นตอน ว่าโปรแกรมมีหลักการทำงานอย่างไร รวมทั้งตรวจสอบการทำงานและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น



ขั้นสรุป (10 นาที)

11. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปการทำงานของโปรแกรมแสดงผลข้อมูล โดยให้ทำงานแบบวนซ้ำ ทีละขั้นตอน ว่าโปรแกรมมีหลักการทำงานอย่างไร รวมทั้งตรวจสอบการทำงานและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาอภิปรายสรุปการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นตอน ว่าโปรแกรมมีหลักการทำงานอย่างไร แต่ละกลุ่มมีวิธีการออกแบบเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร รวมทั้งร่วมกันตรวจสอบการทำงานและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

12. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดท้ายคาบเรียน



10. สื่อแหล่งการเรียนรู้

1. ตัวอย่างธุงใยแมงมุม

2. www.google.co.th

3. รหัสลำลอง

4. ผังงาน

5. โปรแกรม scratch


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,375