การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน
โดย:
สมชาย
[IP: 125.24.140.xxx]
เมื่อ: 2022-07-08 16:43:10
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนราชปิโยรสา
ยุพราชานุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
ผู้ประเมิน นายสมชาย นันทเสน
ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนราชปิโยรสา
ยุพราชานุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน
1) บริบทของโครงการ 2) ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) กระบวนการดำเนินงานของโครงการ
4) ผลผลิตของโครงการ พิจารณารวมถึง ความพึงพอใจของนักเรียน ผลกระทบ ประสิทธิผล
ความยั่งยืน และการถ่ายโยงการเรียนรู้ ประชากรและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ข้าราชการครู 14 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน บุคลากรคณิตศาสตร์ 1 คน ครูวิกฤติ 1 คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการเรียนร่วม 2 คน นักเรียน
ช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 108 คน ผู้ปกครอง จำนวน 108 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากใน
ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ใน มี 2 ชนิดคือ
1) แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง และกรรมการสถานศึกษา ที่มีรายละเอียดสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
ประเด็นคำถามเกี่ยวกับด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตโดยพิจารณารวมถึง ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงการเรียนรู้ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน
ราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 สำหรับผู้ปกครอง และฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการเข้าร่วมโครงการ ข้อลักษณะของข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วน ประเมินค่า 5 ระดับ (Five Rating Scales) โดยประเมินความเหมาะสมมากที่สุดถึงน้อยที่สุด
2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีเนื้อหาครอบคลุมถึงการดำเนินงานตามการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
ผู้ประเมินเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท (Context) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนโครงการ เช่น ประกอบการธุรกิจ บริษัทเอกชน เทศบาลตำบล เป็นต้น รองลงมาคือผู้บริหารมีความเข้าใจและส่งเสริมในหลักการและรูปแบบกิจกรรมที่ดำเนินงานตามโครงการ ส่วนข้อที่ค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ
การประสานงานระหว่างบุคลากรทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการ
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีเอกสารสรุปและรายงานผลการดำเนินการ รองลงมาคือการมอบหมายงานมีความเหมาะสมกับบุคคลากร ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือดำเนินการแผนงานโครงการกิจกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย “โครงการคุณธรรม จริยธรรม” ด้วย 4H สู่การปฏิบัติ
3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจมีการกระตือรือร้นในการเรียนรู้ไม่เน้นแต่เพียงเนื้อหาความรู้ที่จะสอนเท่านั้นรองลงมา คือ กิจกรรมเรียนรู้ที่จัดขึ้นส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติและเกิดประสบการณ์ตรงกับนักเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือมีการสะท้อนผลการจัดกิจกรรมแก่ผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง
4. ด้านผลผลิต (Product) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ในการปฏิบัติกิจกรรมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนได้มีการทำงานร่วมกัน
เป็นทีม รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากันสองข้อ คือ ผลการทดสอบระดับชาติ และผลการทดสอบคุณภาพการศึกษาต่าง ๆ ของนักเรียนผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดและกิจกรรมคุณธรรม จริยธรรมที่นักเรียนปฏิบัติเสริมสร้างไม่บั่นทอนสุขภาพกายและสุขภาพจิต และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือนักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์มีทักษะชีวิตและเรียนรู้ด้วยตนเองตามความถนัดความสนใจ
4.1 ด้านผลกระทบ (Impact)
4.1.1 จากการสอบถาม ผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู พนักงานราชการครูอัตราจ้าง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ นักเรียนมีความสุขกับการเข้าร่วมกิจกรรม “คุณธรรม จริยธรรม” รองลงมา คือ นักเรียนมีผลงานที่เป็นรูปธรรมจากโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรม “คุณธรรม จริยธรรม” ด้วย 4H
4.1.2 จากการสอบถามผู้ปกครองพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ นักเรียนมีความสุขกับการเข้าร่วมกิจกรรม “คุณธรรม จริยธรรม” รองลงมา คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนในการปฏิบัติกิจกรรม “คุณธรรม จริยธรรม” ด้วย 4H
4.2 ด้านประสิทธิผล (Effective)
4.2.1 จากการสอบถาม ผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู พนักงานราชการครูอัตราจ้าง และกรรมการสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมา
คือ การคัดเลือกรูปแบบกิจกรรม “คุณธรรม จริยธรรม” ตามความสนใจของผู้เรียน ตามบริบทของโรงเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือ การจัดระบบสารสนเทศสอดคล้องกับความสนใจความถนัดและความต้องการของผู้เรียน
4.2.2 จากการสอบถาม ผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ มีการทบทวนผลหลังการปฏิบัติเพื่อเป็นการทบทวนผลการจัดกิจกรรมตามโครงการทั้งข้อมูลที่ได้ผลสะท้อนจากนักเรียน ในการจัดกิจกรรมทั้ง 4H รองลงมาการออกแบบกิจกรรม “คุณธรรม จริยธรรม” ครอบคลุมหลักองค์ 4 แห่งการศึกษา ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงเชื่อมโยงกับชีวิตจริงของผู้เรียนคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและมีการประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้อง คือนักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนสอนตามโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือ นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนสอนตามโครงการ
4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability)
4.3.1 จากการสอบถาม ผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู พนักงานราชการครูอัตราจ้าง และกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ใช้ภูมิปัญญาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมจริงและเกิดผลผลิตจากการปฏิบัติ สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสะท้อนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรม
4.3.2 จากการสอบถาม ผู้ปกครอง พบว่า ผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมจริงและเกิดผลผลิตจากการปฏิบัติ สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ รองลงมา คือผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานของตนเอง เช่น กิจกรรมปีหน้าต้องต่อยอดจากกิจกรรมเดิมเนื่องจากเห็นข้อควรปรับปรุงของตนเองซึ่งเป็นผลจากการร่วมกิจกรรม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสะท้อนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรม
4.4 ด้านการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transportability)
4.4.1 จากการสอบถาม ผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู พนักงานราชการครูอัตราจ้าง และกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเป็นโครงการที่พัฒนาความสามารถด้านการแก้ปัญหาและด้านการใช้เทคโนโลยี รองลงมา คือ เป็นโครงการที่ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม (มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน กตัญญู) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ เป็นโครงการที่ตอบสนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
4.4.2 จากการสอบถามผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ เป็นโครงการที่สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้พัฒนาความสามารถด้านการสื่อสาร ด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) รองลงมา คือ เป็นโครงการที่ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม (มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน กตัญญู) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ เป็นโครงการที่ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคมมีจิตสาธารณะและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อส่วนรวม
ส่วนด้านความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว รองลงมาคือได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ยุพราชานุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
ผู้ประเมิน นายสมชาย นันทเสน
ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนราชปิโยรสา
ยุพราชานุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน
1) บริบทของโครงการ 2) ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) กระบวนการดำเนินงานของโครงการ
4) ผลผลิตของโครงการ พิจารณารวมถึง ความพึงพอใจของนักเรียน ผลกระทบ ประสิทธิผล
ความยั่งยืน และการถ่ายโยงการเรียนรู้ ประชากรและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ข้าราชการครู 14 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน บุคลากรคณิตศาสตร์ 1 คน ครูวิกฤติ 1 คน ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการเรียนร่วม 2 คน นักเรียน
ช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 108 คน ผู้ปกครอง จำนวน 108 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากใน
ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ใน มี 2 ชนิดคือ
1) แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง และกรรมการสถานศึกษา ที่มีรายละเอียดสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
ประเด็นคำถามเกี่ยวกับด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตโดยพิจารณารวมถึง ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงการเรียนรู้ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน
ราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 สำหรับผู้ปกครอง และฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการเข้าร่วมโครงการ ข้อลักษณะของข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วน ประเมินค่า 5 ระดับ (Five Rating Scales) โดยประเมินความเหมาะสมมากที่สุดถึงน้อยที่สุด
2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีเนื้อหาครอบคลุมถึงการดำเนินงานตามการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
ผู้ประเมินเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท (Context) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนโครงการ เช่น ประกอบการธุรกิจ บริษัทเอกชน เทศบาลตำบล เป็นต้น รองลงมาคือผู้บริหารมีความเข้าใจและส่งเสริมในหลักการและรูปแบบกิจกรรมที่ดำเนินงานตามโครงการ ส่วนข้อที่ค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ
การประสานงานระหว่างบุคลากรทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการ
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีเอกสารสรุปและรายงานผลการดำเนินการ รองลงมาคือการมอบหมายงานมีความเหมาะสมกับบุคคลากร ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือดำเนินการแผนงานโครงการกิจกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย “โครงการคุณธรรม จริยธรรม” ด้วย 4H สู่การปฏิบัติ
3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจมีการกระตือรือร้นในการเรียนรู้ไม่เน้นแต่เพียงเนื้อหาความรู้ที่จะสอนเท่านั้นรองลงมา คือ กิจกรรมเรียนรู้ที่จัดขึ้นส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติและเกิดประสบการณ์ตรงกับนักเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือมีการสะท้อนผลการจัดกิจกรรมแก่ผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง
4. ด้านผลผลิต (Product) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ในการปฏิบัติกิจกรรมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนได้มีการทำงานร่วมกัน
เป็นทีม รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากันสองข้อ คือ ผลการทดสอบระดับชาติ และผลการทดสอบคุณภาพการศึกษาต่าง ๆ ของนักเรียนผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดและกิจกรรมคุณธรรม จริยธรรมที่นักเรียนปฏิบัติเสริมสร้างไม่บั่นทอนสุขภาพกายและสุขภาพจิต และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือนักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์มีทักษะชีวิตและเรียนรู้ด้วยตนเองตามความถนัดความสนใจ
4.1 ด้านผลกระทบ (Impact)
4.1.1 จากการสอบถาม ผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู พนักงานราชการครูอัตราจ้าง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ นักเรียนมีความสุขกับการเข้าร่วมกิจกรรม “คุณธรรม จริยธรรม” รองลงมา คือ นักเรียนมีผลงานที่เป็นรูปธรรมจากโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรม “คุณธรรม จริยธรรม” ด้วย 4H
4.1.2 จากการสอบถามผู้ปกครองพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ นักเรียนมีความสุขกับการเข้าร่วมกิจกรรม “คุณธรรม จริยธรรม” รองลงมา คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนในการปฏิบัติกิจกรรม “คุณธรรม จริยธรรม” ด้วย 4H
4.2 ด้านประสิทธิผล (Effective)
4.2.1 จากการสอบถาม ผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู พนักงานราชการครูอัตราจ้าง และกรรมการสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ส่งเสริมสนับสนุนปัจจัยให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมา
คือ การคัดเลือกรูปแบบกิจกรรม “คุณธรรม จริยธรรม” ตามความสนใจของผู้เรียน ตามบริบทของโรงเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือ การจัดระบบสารสนเทศสอดคล้องกับความสนใจความถนัดและความต้องการของผู้เรียน
4.2.2 จากการสอบถาม ผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ มีการทบทวนผลหลังการปฏิบัติเพื่อเป็นการทบทวนผลการจัดกิจกรรมตามโครงการทั้งข้อมูลที่ได้ผลสะท้อนจากนักเรียน ในการจัดกิจกรรมทั้ง 4H รองลงมาการออกแบบกิจกรรม “คุณธรรม จริยธรรม” ครอบคลุมหลักองค์ 4 แห่งการศึกษา ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงเชื่อมโยงกับชีวิตจริงของผู้เรียนคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและมีการประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้อง คือนักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนสอนตามโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือ นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนสอนตามโครงการ
4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability)
4.3.1 จากการสอบถาม ผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู พนักงานราชการครูอัตราจ้าง และกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ใช้ภูมิปัญญาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมจริงและเกิดผลผลิตจากการปฏิบัติ สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสะท้อนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรม
4.3.2 จากการสอบถาม ผู้ปกครอง พบว่า ผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมจริงและเกิดผลผลิตจากการปฏิบัติ สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ รองลงมา คือผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานของตนเอง เช่น กิจกรรมปีหน้าต้องต่อยอดจากกิจกรรมเดิมเนื่องจากเห็นข้อควรปรับปรุงของตนเองซึ่งเป็นผลจากการร่วมกิจกรรม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสะท้อนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรม
4.4 ด้านการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transportability)
4.4.1 จากการสอบถาม ผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครู พนักงานราชการครูอัตราจ้าง และกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเป็นโครงการที่พัฒนาความสามารถด้านการแก้ปัญหาและด้านการใช้เทคโนโลยี รองลงมา คือ เป็นโครงการที่ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม (มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน กตัญญู) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ เป็นโครงการที่ตอบสนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
4.4.2 จากการสอบถามผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ เป็นโครงการที่สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้พัฒนาความสามารถด้านการสื่อสาร ด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) รองลงมา คือ เป็นโครงการที่ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม (มีวินัย ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน กตัญญู) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ เป็นโครงการที่ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคมมีจิตสาธารณะและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อส่วนรวม
ส่วนด้านความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว รองลงมาคือได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments