การประเมินโครงการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไชยาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

โดย: กนกวรรณ อักษรสม [IP: 118.172.131.xxx]
เมื่อ: 2022-06-18 22:54:34
ชื่อผลงาน การประเมินโครงการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไชยาวิทยา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

ผู้ประเมิน นางกนกวรรณ อักษรสม รองผู้อำนวยการชำนาญการ

โรงเรียนไชยาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564



บทสรุปสำหรับผู้บริหาร



การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไชยาวิทยา 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไชยาวิทยา 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไชยาวิทยา และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไชยาวิทยา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ครูที่ปรึกษา จำนวน 30 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 324 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 324 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้น จำนวน 698 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ 1) แบบประเมินความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับด้านบริบทได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89 2) แบบประเมินความคิดเห็นของครูที่ปรึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้าได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.85 3) แบบประเมินความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านกระบวนการได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 และ 4) แบบประเมินความคิดเห็นของครูที่ปรึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านผลผลิตได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.86 และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน



ผลการประเมิน พบว่า

1. การประเมินด้านบริบทก่อนดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไชยาวิทยาที่เกี่ยวกับความต้องการจัดทำโครงการตามความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ความคุ้มค่าของโครงการและการนำไปใช้ รวมถึงความจำเป็นของการดำเนินโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.38) ที่เกี่ยวกับความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.60) และที่เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.29)

2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าก่อนดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไชยาวิทยาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.71)

3. การประเมินด้านกระบวนการระหว่างดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไชยาวิทยาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.54)

4. การประเมินด้านผลผลิตหลังดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไชยาวิทยาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด = 4.51, S.D. = 0.66)


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,756