การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน เพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดย:
นางจารุวรรณี แพร่ศรีสกุล
[IP: 223.206.233.xxx]
เมื่อ: 2022-06-16 13:32:53
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางจารุวรรณี แพร่ศรีสกุล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน เพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ แบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน เพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ แบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ 2) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะ การอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning 5) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และ 7) แบบประเมินรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า IOC ค่า E1/E2 ค่า E.I ค่า t แบบกลุ่มไม่อิสระ (Dependent samples) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการพรรณนา (Descriptive analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะนักเรียน มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ปัญหาเกิดจากนักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ส่วนครูขาดเทคนิควิธีสอนและยังยึดติดกับรูปแบบการสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง และมีความต้องการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคุณภาพ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้วิจัยได้ยึดทฤษฏีของจอยซ์และไวล์ (Joyce and Weil) ประกอบแนวคิดเกี่ยวกับการอ่านของบลูม ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ (Bruner) ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory) และทฤษฏีการจัดการเรียนรู้แบบ E-learning แบบผสมผสานและแบบออนไลน์ของ ฐาปนีย์ ธรรมเมธา มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ สาระหลัก ระบบสังคม หลักการตอบสนอง เงื่อนไข สิ่งสนับสนุน
3. ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏผลดังนี้
3.1) ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน เท่ากับ 85.81/83.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และค่าประสิทธิผลของรูปแบบการสอน เท่ากับ 0.6679 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 66.79
3.2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.82, S.D. = 0.35)
4. ผลประเมินรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ครูและนักเรียนเห็นว่ารูปแบบการสอนมีคุณภาพและเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.85, S.D. = 0.35)
ผู้วิจัย นางจารุวรรณี แพร่ศรีสกุล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน เพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ แบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน เพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อประเมินรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ แบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ 2) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะ การอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning 5) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และ 7) แบบประเมินรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า IOC ค่า E1/E2 ค่า E.I ค่า t แบบกลุ่มไม่อิสระ (Dependent samples) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการพรรณนา (Descriptive analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะนักเรียน มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ปัญหาเกิดจากนักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ส่วนครูขาดเทคนิควิธีสอนและยังยึดติดกับรูปแบบการสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง และมีความต้องการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคุณภาพ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้วิจัยได้ยึดทฤษฏีของจอยซ์และไวล์ (Joyce and Weil) ประกอบแนวคิดเกี่ยวกับการอ่านของบลูม ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ (Bruner) ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory) และทฤษฏีการจัดการเรียนรู้แบบ E-learning แบบผสมผสานและแบบออนไลน์ของ ฐาปนีย์ ธรรมเมธา มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ สาระหลัก ระบบสังคม หลักการตอบสนอง เงื่อนไข สิ่งสนับสนุน
3. ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏผลดังนี้
3.1) ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน เท่ากับ 85.81/83.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และค่าประสิทธิผลของรูปแบบการสอน เท่ากับ 0.6679 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 66.79
3.2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.82, S.D. = 0.35)
4. ผลประเมินรูปแบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ E-learning เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ครูและนักเรียนเห็นว่ารูปแบบการสอนมีคุณภาพและเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.85, S.D. = 0.35)
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments