รายงานการประเมิน แผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2561-2565) โรงเรียนบ้านจำบอน จังหวัดเชียงราย

โดย: ดร.วรกมล สุตะวงค์ [IP: 171.4.224.xxx]
เมื่อ: 2022-06-01 13:16:43
บทคัดย่อ



การประเมินแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2561-2565) โรงเรียนบ้านจำบอน จังหวัดเชียงรายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพก่อนและหลังการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษา 2) ประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษา โดยใช้แบบจำลอง CIPP และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา โดยแบ่งการประเมินเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพก่อนและหลังการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 2 ประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษา โดยใช้แบบจำลอง CIPP และระยะที่ 3 ศึกษาแนวทางการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา จำนวนประชากรทั้งหมด 261 คน เก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบประเมินและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง กับแผนพัฒนาการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา

ผลการประเมิน พบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพก่อนและหลังดำเนินการตามแผนพัฒนาการศึกษา

1.1 สภาพการบริหารจัดการเรียนรู้หลังดำเนินการช่วงครึ่งแผนพัฒนาการศึกษา (ปีการศึกษา 2561-2563) มีการจัดระบบนิเวศการศึกษาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ปรับภูมิทัศน์ อยู่ในสภาพร่มรื่น เรียบร้อย สะอาดปลอดภัย และมีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยมีงานวิจัยสถาบันที่เป็นที่ยอมรับและต้นแบบประยุกต์ใช้ของสถานศึกษา ได้แก่ รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุข

1.2 การมีส่วนร่วมการบริหารจัดการเรียนรู้หลังดำเนินการช่วงครึ่งแผนพัฒนาการศึกษา (ปีการศึกษา 2561-2563) ที่เน้นการเปิดเวทีการมีส่วนร่วม การสื่อสารทิศทางการพัฒนา (Share Vision) และการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ส่งผลให้ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ชุมชนและภาคีเครือข่ายพันธมิตรการศึกษา ให้การยอมรับและเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งด้านการระดมทรัพยากร และระบบนิเวศการศึกษา

2. ผลการประเมินแผนพัฒนาการศึกษา

2.1 ผลการประเมินแผนพัฒนาการศึกษา โดยแบบจำลอง CIPP ประกอบด้วย 1) ด้านบริบท (Context) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 3) ด้านกระบวนการ (Process) และ 4) ด้านผลผลิต (Product) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, = 0.21)

2.2 ผลการดำเนินงาน (Results) ตามแผนพัฒนาการศึกษา ช่วงครึ่งแผนพัฒนาการศึกษา ปีการศึกษา 2561-2563

1) ผลผลิต (Output) จากการประเมินคุณภาพการศึกษา (SAR) พบว่า

(1) ปีการศึกษา 2561 ระดับปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 79.62 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 77.83 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดีเลิศ (คะแนนเฉลี่ย 81.25 คะแนน) และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 77.67 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 75.00 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 78.70 คะแนน)

(2) ปีการศึกษา 2562 ระดับปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 78.75 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 72.50 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 75.75 คะแนน) และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 74.06 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 79.66 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 79.33 คะแนน)

(3) ปีการศึกษา 2563 ระดับปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 93.10 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับดีเลิศ (คะแนนเฉลี่ย 87.50 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดิเลิศ(คะแนนเฉลี่ย 86.75 คะแนน) และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 75.01 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับดีเลิศ(คะแนนเฉลี่ย 86.95 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 73.60 คะแนน)

2) ผลลัพธ์ (Outcome) ระดับความพึงพอใจการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ5 ปี (ปีการศึกษา 2561-2565) ระยะครึ่งแผน (ปีการศึกษา 2561-2563) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90, = 0.15)

3) ผลกระทบ (Impact) จากความสำเร็จการดำเนินการตามแผน สร้างความพึงพอใจ สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก ส่งผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วม การบริหารจัดการศึกษา และจัดระบบนิเวศการศึกษาในรูปพันธมิตรการศึกษา (Education Partnership)

3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา

3.1 ผลจากการสนทนากลุ่มและการสะท้อนผลการพัฒนาของผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง มีข้อเสนอในการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา โดย 1) ปรับกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัย 2) ยกระดับผลสัมฤทธิ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) สร้างเวทีการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในลักษณะพันธมิตรการศึกษา (Educational Partnership) และ 4) ปรับแผนพัฒนาการศึกษา (ฉบับทบทวนปีการศึกษา 2564-2565 )

3.2 ผลการประเมินข้อเสนอการสะท้อนผลพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (ฉบับทบทวนปีการศึกษา 2564-2565) ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของผู้ทรงคุณวุฒิ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.81, = 0.18)



คำสำคัญ : แผนพัฒนาการศึกษา, แบบจำลอง CIPP

Abstract



Evaluation of the 5-year educational development plan (The academic year 2018-2022) BanChambon School, Chiang Rai Province. The purposes of this study were: 1) to study the conditions before and after the implementation of the educational development plan; 2) to evaluate the educational development plan. by using the CIPP model and 3) to study the guidelines for the development of educational development plans. The evaluation was divided into 3 phases: Phase 1 studied the conditions before and after the implementation of the educational development plan; Phase 2 evaluated the educational development plan. by using the CIPP model and Phase 3 study the guidelines for the development of educational development plans. The total population was 261 people. Primary data were collected with an evaluation form and related secondary data. with the educational development plan. Analyze data with content analysis. and descriptive statistics.

The evaluation results found that:

1. The results of the study of the conditions before and after the implementation of the educational development plan.

1.1 The conditions of learning management after the implementation of half of the educational development plan (the academic year 2018-2020) has an educational ecosystem to be a learning resource, the landscape is a shady, tidy, clean, safe and has developed innovations in learning management. There are research institutes that are accepted and apply models of educational institutions, namely, a model of learning management with happiness. for the 21st century

1.2 The participation in learning management after the implementation of half of the educational development plan (Academic Year 2018-2020) that emphasizes the participation platform, communication of development direction (Share Vision), and proactive public relations. As a result, parents, alumni, communities, and educational partners network Accepting and participating both in terms of mobilizing resources and educational ecosystem

2. The results of the educational development plan evaluation

2.1 The results of the educational development plan evaluation by the CIPP model consisted of 1) Context, 2) Input, 3) Process, and 4) Product. The overall results were at the highest level ( = 4.64, = 0.21)

2.2 Performance (Results) according to the educational development plan half of the educational development plan, the academic year 2018-2020.

1) Output from the Self Assessment Report (SAR) found that:

(1) Academic year 2018, Early Childhood Level, Standard 1, child quality was at a good level (average score 79.62 points). Standard 2, administrative and management processes were at a good level (average score 77.83). and Standard 3, child-centered experiences were at an excellent level (average score 81.25). Regarding the basic education level, Standard 1, the quality of the learners was at a good level (average score 77.67 points). Standard 2, administrative and management processes were at a good level (average score of 75.00). and Standard 3, the process of teaching and learning that focuses on learners was at a good level (average score 78.70 points).

(2) Academic Year 2019, Early Childhood Level, Standard 1, child quality was at a good level (average score 78.75). Standard 2, administrative and management processes were at a good level (mean score 72.50). and Standard 3, child-centered experiences, was at a good level (average score 75.75). Regarding the basic education level, Standard 1, the quality of the learners was at a good level (average score 74.06 points). Standard 2 administrative and management processes were at a good level (average score 79.66 points). and Standard 3, the processes of teaching and learning that focus on learners were at a good level (average score 79.33 points).

(3) Academic Year 2020, Early Childhood Level, Standard 1, child quality was at an excellent level (average score 93.10). Standard 2, administrative and management processes were at an excellent level (average score of 87.50). and Standard 3, child-centered experiences were at an excellent level (average score 86.75 points). Regarding the level of basic education, standard 1, the quality of learners was at a good level (average score 75.01). Standard 2, administrative and management processes were at an excellent level (average score of 86.95 points), And standard 3, the teaching and learning process that focuses on the learner is important was at a good level (average score 73.60 points).

2) Outcome of satisfaction with the implementation of the 5-year educational development plan (the academic year 2018-2022), the half-plan phase (the academic year 2018-2020), the overall level is at the highest level ( = 4.90, = 0.15)

3) The impact of the plan implementation satisfying that Educational institutions are accepted by parents, communities, and external agencies. resulting in participation in educational administration and organizing an educational ecosystem in the form of education partnerships.

3. The results of the study of guidelines for the development of educational development plans

3.1 The results of group discussions and reflections on the development of experts, include the school board, teachers, educational personnel, and related persons. There are proposals for the development of educational development plans by 1) adjusting the early childhood development process; 2) enhancing the achievement of basic education; 3) creating a platform for participation from all sectors. in the form of educational partnership (Educational Partnership) and 4) adjust the educational development plan. (Review edition for the academic year 2021-2022)

3.2 The results of the evaluation of proposals reflect the results of the development of the 5-year educational development plan (Review version for the academic year 2021-2022) in terms of accuracy, suitability, feasibility, and usefulness of qualified experts. The overall result was at the highest level ( = 4.81, = 0.18).



Keywords: Evaluation, Educational Development Plan, CIPP model


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,090