การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLA Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โดย: นางยุวธิดา สุวรรณเมฆ [IP: 118.173.207.xxx]
เมื่อ: 2022-05-22 17:58:03
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLA Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLA Model 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLA Model 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLA Model 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLA Model โดยมีกลุ่มตัวเป้าหมายนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 12 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และครูผู้สอนนาฏศิลป์ จำนวน 6 โรงเรียนดังนี้ 1) โรงเรียนวัดบ้านส้อง 2) โรงเรียนบ้านช่องช้าง 3)โรงเรียนควนมหาชัย 4) โรงเรียนวัดควนศรี 5) โรงเรียนบ้านควนเนียง และ 6) โรงเรียนบ้านห้วยมะนาว ซึ่งโรงเรียนที่มีบริบทการจัดการเรียนการสอนที่คล้ายกัน ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน 2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 12 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLA Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLA Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รายงานผลข้อมูลโดยการบรรยายสรุปเป็นความเรียง พรรณนาความ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)









ผลการวิจัย พบว่า

ได้รูปแบบการจัดการเรียนที่พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชานาฏศิลป์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 1)กรอบแนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน 2)หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLA Model 3)จุดมุ่งหมาย 4)เนื้อหา 5) ขั้นตอน/กระบวนการเรียนรู้ 6)สื่อและแหล่งเรียนรู้ 7)การวัดและการประเมินผล สามารถสังเคราะห์เป็นรูปแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLA Model 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้น P: Plan วิเคราะห์วางแผนเพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้น L : Learning ขั้นการสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบไปด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนดังต่อไปนี้ 1)สร้างแรงบันดาลใจชวนสงสัย 2)สืบเสาะแล้วสร้างความคิดเป็นของตนเอง 3)คิดคู่/กลุ่ม/ทั้งชั้นเรียน 4)สรุปความรู้และนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ และขั้น A : Assessment การประเมินผลและรายงานการพัฒนาของผู้เรียน ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLA Modelตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLA Model อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,708