รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัย ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

โดย: นายสงวนศักดิ์ ปัญใจแก้ว [IP: 223.206.208.xxx]
เมื่อ: 2022-03-27 19:46:50
รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัย ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

นายสงวนศักดิ์ ปัญใจแก้ว

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน บ้านโป่งแยงใน 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัย ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน 3) เพื่อใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน โดยการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 44 คน การศึกษาสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 แห่ง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหาร แบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน สร้างรูปแบบโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนทั้งสิ้น 24 คน และตรวจสอบรูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน 3) การใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน โดยการประชุมรับฟังความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูล ด้านผลผลิต จากคณะกรรมการขับเคลื่อนรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 29 คน ด้านผลลัพธ์ จากครูผู้สอน นักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 110 คน และด้านผลกระทบ จากผู้ปกครองนักเรียน ตัวแทนชุมชนในท้องถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 4) การประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน โดยการสอบถาม คณะกรรมการขับเคลื่อนรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมฯ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน นักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 70 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน



ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาความต้องการและแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า 1) บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องยังขาดการรับรู้และการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานการส่งเสริมการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ปลอดภัยตามวิถี เศรษฐกิจพอเพียง ความต้องการคือสร้างการรับรู้และขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยใช้แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) งบประมาณในการดำเนินงานมีไม่เพียงพอ จึงต้องการระดมทรัพยากรให้เพียงพอในการดำเนินงาน 3) วัสดุอุปกรณ์

แหล่งเรียนรู้และพื้นที่ในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยยังมีไม่เพียงพอ จึงต้องการการสนับสนุนให้มีความเหมาะสมและเพียงพอ โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม 4) การบริหารจัดการ มีการส่งเสริมการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัย

แต่ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ความต้องการคือการพัฒนากระบวนการดำเนินงานโดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม

ด้านกระบวนการปฏิบัติการ และด้านผลการดำเนินงาน พบว่า ยังไม่มีรูปแบบกระบวนการปฏิบัติการ และการศึกษาผลการดำเนินงานที่เป็นระบบ แนวทางการพัฒนาคือ สร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาผลการดำเนินงานทั้งด้านผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ ตามรูปแบบที่สร้างขึ้น

2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน พบว่า รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ

ทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่

1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการปฏิบัติการ 3) ผลการดำเนินงาน

3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ได้แก่ผลการดำเนินงาน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผลผลิต ด้านผลลัพธ์ และด้านผลกระทบ ด้านผลผลิต พบว่า ในภาพรวมมีผลการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานตามรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.86)

ด้านผลลัพธ์ที่มีต่อนักเรียน พบว่านักเรียนมีสุขภาพที่ดี โดยพิจารณาจาก ผลการตรวจสารเคมีทางการเกษตรที่ตกค้างในร่างกายของนักเรียนที่ลดลง นักเรียนมีความรู้ ทักษะในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์ที่มีต่อครู พบว่า ครูมีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับคู่มือการใช้รูปแบบฯ และด้านผลกระทบ พบว่า ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัยของโรงเรียนและชุมชนอย่างจริงจัง ผู้ปกครองนักเรียนและมีเจตคติที่ดีต่อการดำเนินงานนำไปสู่การทำการเกษตรปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัว เกษตรกรในชุมชนให้ความสนใจในการเพาะปลูกผักปลอดภัยส่งผลให้มีแหล่งผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น

4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการทางการเกษตรปลอดภัย

ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ด้านความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ ในภาพรวม พบว่ารูปแบบฯ มีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76) โดยพิจารณารายข้อ พบว่า รูปแบบฯ มีประโยชน์ต่อผู้เรียนในด้าน

การแก้ปัญหาสุขภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.93) รองลงมาได้แก่ ประโยชน์ต่อผู้เรียนด้านทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.86) ถัดมาได้แก่ ประโยชน์ที่มีต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาต่อครูในการพัฒนา

การจัดกระบวนการเรียนรู้ และต่อผู้เรียนด้านทักษะวิชาการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79) ตามลำดับ ด้านความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบฯ ในภาพรวม พบว่าผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80)








ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,842