การพัฒนารูปแบบการสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรของโรงเรียนบ้านบ่อ ยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

โดย: นางสาวชนาธิป เทียนวรรณ [IP: 223.206.244.xxx]
เมื่อ: 2022-03-24 16:36:37
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรของโรงเรียนบ้านบ่อ

ยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

ผู้ศึกษา นางสาวชนาธิป เทียนวรรณ

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท

ปีการศึกษา 2563



บทคัดย่อ



การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจของบุคลากรโรงเรียนบ้านบ่อ

ยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท และ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรของโรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขั้นตอนในการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) เกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรและประสิทธิผลของโรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) ออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D&D) รูปแบบการสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรของโรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) ทดลองใช้ (Implementation : I) รูปแบบการสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรของโรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) ประเมินผล (Evaluation : E) รูปแบบการสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรของโรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเกี่ยวกับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.92 และประสิทธิผลของโรงเรียนมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา



ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับแรงจูงใจของบุคลากรโรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนอง มะโมง จังหวัดชัยนาท โดยรวมและรายปัจจัยอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลของโรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรของโรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ได้รูปแบบการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานคือ CRACC Model ได้แก่ ด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม (Climate) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร (Readership) ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง (Achievement)

ด้านสมรรถนะของครู (Competence) และ ด้านความคาดหวังของชุมชน (Community) หากจะพัฒนาครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาทให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารต้องโรงเรียนจะนำเอาองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน มาดำเนินการ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนบ้านบ่อยายส้ม (แก้วประชาสรรค์) อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาทอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,605