การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล เพื่อส่งเสริมทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี สำ

โดย: สุดารัตน์ วงศ์ยศ [IP: 113.53.31.xxx]
เมื่อ: 2022-03-17 14:47:33
ชื่อเรื่อง :การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์

เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล เพื่อส่งเสริมทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3



ชื่อผู้วิจัย : สุดารัตน์ วงศ์ยศ



บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัด

การเรียนรู้ ขั้นตอนการวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้

3) การทดลองใช้ 4) การประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะ

ด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูล

ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (Dependent sample t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล เพื่อส่งเสริมทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อเรียกว่า SEASES Model มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 83.19/84.38 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียน

มีทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี เฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 24.96 คิดเป็นร้อยละ 83.19 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจ

ต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.49)



คำสำคัญ : รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การใช้ปัญหาเป็นฐาน, สื่อสังคมออนไลน์, การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล





















Development of Learning Management Model Using Problem-based Learning

with the Aid of Social Media and Digital Literacy to Enhance Information,

Media and Technology Skills of Mathayomsuksa Three Students



Sudarat Wongyos



Abstract

The purposes of this research were; 1) to build and find efficiency of Learning Management Model to be effective according to the 80/80 standard, 2) to study the result using Learning Management Model, and

3) to study the students’ satisfaction with Learning Management Model. The research processes were consisted

of 4 phases as following; 1) the study of basic data, 2) the design and development of Learning Management Model, 3) conducting an experiment, and 4) administering an evaluation. The research sample consisted of 40 students who were studying in Mathayomsuksa Three at Chiang Rai Municipality School 5 during the 1st Semester in 2021 by Cluster Random Sampling method. Research instruments were included of documentary analysis forms, interview forms, teaching plan, Learning Management Model, information, media and technology skills test, and satisfaction questionnaire of Learning Management Model. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation (S.D.) and the statistical test (Dependent sample t-test).

The results showed that; 1) Learning Management Model Using Problem-based Learning with the Aid of Social Media and Digital Literacy to Enhance Information, Media and Technology Skills of Mathayomsuksa Three Students which was called ‘SEASES’ Model had got the efficiency value of E1/E2 were equal to 83.19/84.38 and satisfied the criteria 80/80. 2) The results of Learning Management Model showed that the students had the posttest scores of information, media and technology skills test higher than the specified 70% threshold statistically significance at the .01 level with overall average was equal to 24.96 or 83.19 percent.

3) Students who studied with Learning Management Model had overall satisfaction at the highest level

( =4.65, S.D.=0.49).



Keywords : Learning Management Model, Using Problem-based Learning, Social Media, Digital Literacy












ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,566