การประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

โดย: นายสงวนศักดิ์ ปัญใจแก้ว [IP: 223.206.214.xxx]
เมื่อ: 2022-03-09 19:37:38
การประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

นายสงวนศักดิ์ ปัญใจแก้ว

โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน สพป.ชม. 2

บทสรุปผู้บริหาร

การประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน เป็นการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการฯ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการ และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ กลุ่มศึกษาเป็นครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความเหมาะสมในแต่ละด้าน และเครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) การประเมินแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ

ขั้นตอนที่ 2 การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการ

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการ

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ

ตอนที่ 4.1 การประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับ

สภาพบริบทของโรงเรียน

ตอนที่ 4.2 การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยระบบการประกัน

คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

การประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน สรุปผลได้ดังนี้

1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ พบว่า บริบทของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (x ̅= 4.60) โดยลำดับสูงสุดคือ ความสอดคล้องที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (x ̅= 4.63 ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความจำเป็นของโครงการ (x ̅= 4.62) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับต่ำสุดคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ(x ̅= 4.55) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการ พบว่า ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.49) โดยลำดับสูงสุดคือ ด้านการบริหารจัดการ (x ̅= 4.60) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านบุคลากร (x ̅= 4.56) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านวัสดุครุภัณฑ์ (x ̅= 4.52) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับต่ำสุดคือ ด้านงบประมาณ (x ̅= 4.28) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการ พบว่า ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.72) โดยลำดับสูงสุด มีจำนวน 4 รายการ คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบกิจกรรมในโครงการ การกำหนดระยะเวลาดำเนินกิจกรรมในโครงการ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ และผู้บริหารสถานศึกษาสามารถให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้ (x ̅= 5.00) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา จำนวน 2 รายการ คือ การประชุมวางแผนก่อนการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถในการบริหารและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในโครงการ (x ̅= 4.92) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมา จำนวน 3 รายการ คือ การประชุม นิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินกิจกรรมในโครงการ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศของกิจกรรมในโครงการ ความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมในโครงการ (x ̅= 4.83) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมา จำนวน 5 รายการคือ ความชัดเจนของแผนการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม กระบวนการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ การประสานงานการดำเนินกิจกรรมของแต่ละฝ่าย ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมมีการพัฒนาและปรับปรุงในการดำเนินกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ การดำเนินกิจกรรมในโครงการสำเร็จตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด (x ̅= 4.42) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนลำดับต่ำสุดคือ ความราบรื่นของการดำเนินกิจกรรมในโครงการ(x ̅= 4.33) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ แบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้

4.1 ผลการประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.78) โดยลำดับสูงสุดคือ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา (x ̅= 4.92) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (x ̅= 4.88) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมาคือ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (x ̅= 4.85)มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (x ̅= 4.83) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด การกำหนดรูปแบบและคู่มือเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (x ̅= 4.73) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (x ̅= 4.68) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดส่วนลำดับต่ำสุดคือ การติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา (x ̅= 4.59) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

4.2 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้

4.2.1 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย

ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม (x ̅= 4.72) โดยลำดับสูงสุดคือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็กระดับปฐมวัย (x ̅= 5.00) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม รองลงมาคือ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ (x ̅= 4.67) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม ส่วนลำดับต่ำสุดคือ มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ (x ̅= 4.50) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม

4.2.2 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม (x ̅= 4.53) โดยลำดับสูงสุดคือ มาตรฐานที่ 5 การมีส่วนร่วมของทีมองค์กรและเครือข่ายการศึกษา (x ̅= 5.00) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม รองลงมาคือ มาตรฐานที่ 4 การจัดและพัฒนาสภาพแวดล้อม และสื่อเพื่อการเรียนรู้ (x ̅= 4.75) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม ลำดับต่อมาคือ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ (x ̅= 4.60) มีระดับคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม ลำดับต่อมาคือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน (x ̅= 4.30) มีระดับคุณภาพในระดับดีเลิศ ส่วนลำดับต่ำสุดคือ มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (x ̅= 4.00) มีระดับคุณภาพในระดับดีเลิศ

หมายเหตุ โครงการ หมายถึง โครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,736