การประเมินโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ)

โดย: นายโชติวรรธน์ มุสิกะชะนะ [IP: 184.22.28.xxx]
เมื่อ: 2022-02-28 06:53:56
ผลงาน การประเมินโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ)

ชื่อผู้วิจัย นายโชติวรรธน์ มุสิกะชะนะ

หน่วยงานที่สังกัด สำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง

ปีการศึกษา 2563



บทคัดย่อ



การประเมินโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงานและด้านผลผลิต 2) ประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา 3) ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย จำนวน 166 คน ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ) จำนวน 14 คน นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ) ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบประเมินโครงการ จำนวน 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงานและด้านผลผลิต ฉบับที่ 2 แบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและ ฉบับที่ 3 แบบประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์และนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า

1. การประเมินโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ด้านประเมินปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงานและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด

2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด

3. ความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อโครงการนิเทศการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด




ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,806