การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

โดย: นางสาวพัชรินทร์ โสรัตน์ [IP: 171.100.250.xxx]
เมื่อ: 2022-02-27 02:48:59
ผู้วิจัย นางสาวพัชรินทร์ โสรัตน์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญพิเศษ

โรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี

ปีที่วิจัย 2563

ประเภทงานวิจัย วิจัยและพัฒนา (Research and Development)



บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2. เพื่อสร้างและหาคุณภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3. เพื่อศึกษาผลการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4. เพื่อประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 25 คน โรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ เรื่อง วิ่งควายกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) รหัสวิชา ศ21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วิ่งควาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับนักเรียน แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) ค่าประสิทธิภาพ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอแบบพรรณนาความ



ผลการวิจัยพบว่า

ตอนที่ 1 (R_1 : Research) : ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า

1) ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบร่างรูปแบบการเรียนรู้แบบการ พัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติท่ารำการแสดงสร้างสรรค์ “วิ่งควาย” ได้มาจากการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แนวคิด ทฤษฎี หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560 ) และผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการ และแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ





ครูผู้สอนรายวิชาศิลปะ หัวหน้ากลุ่มสาระการ สรุปได้ว่า ช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นของผู้เรียน พัฒนาความคิดของผู้เรียน เกิดเจตคติ ที่ดีในการเรียน ช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนสมาชิก ส่งเสริมทักษะในการทำงานร่วมกัน ฝึกให้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของ ผู้อื่น ทำให้นักเรียนมีวิสัยทัศน์ หรือมุมมองกว้างขึ้น ส่งเสริมทักษะ ทางสังคม ตลอดจนช่วยให้ผู้เรียนมีการปรับตัวในสังคมได้ดีขึ้น

2) ความคิดเห็นสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติท่ารำการแสดงสร้างสรรค์ “วิ่งควาย” โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.42) ส่วนความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ รายวิชานาฏศิลป์ไทย โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76)

ตอนที่ 2 (D_1 : Development): การสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติท่ารำการแสดงสร้างสรรค์ “วิ่งควาย” มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.79/86.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้คือ 80/80

ตอนที่ 3 (R_2 : Research): การกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติท่ารำการแสดงสร้างสรรค์ “วิ่งควาย” นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ของการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ตอนที่ 4 (D_2 : Development): ผลการประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า

1. การประเมินและรับรองกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติท่ารำการแสดงสร้างสรรค์ “วิ่งควาย” อยู่ในระดับมากที่สุด(X ̅ = 4.71)

2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ที่เน้นสร้างเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ของ โดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติท่ารำการแสดงสร้างสรรค์ “วิ่งควาย” อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.70)


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,267