การประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมศิลปหัตถกรรมการจักสานไม้ไผ่จากชุมชนสู่ทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน โรงเรียน

โดย: นายสันติ สิงหาพรม [IP: 223.205.250.xxx]
เมื่อ: 2022-02-16 23:09:28
สันติ สิงหาพรม. การประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

เพื่อส่งเสริมศิลปหัตถกรรมการจักสานไม้ไผ่จากชุมชนสู่ทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน

โรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม. ชัยภูมิ : โรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม: 2564.

บทคัดย่อ

การประเมินครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมศิลปหัตถกรรมการจักสานไม้ไผ่จากชุมชนสู่ทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม ภายใต้กรอบการประเมินเชิงระบบของ CIPPIEST Model กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ 1) ผู้ช่วยผู้อำนวยการและครูที่เป็นคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ จำนวน 7 คน จากการเลือกแบบเจาะจง 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 คน จากการเลือกแบบเจาะจง 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม และ 4) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 54 คน จากจำนวนทั้งหมด 62 คน จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบประเมินผลโครงการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมศิลปหัตถกรรมการจักสานไม้ไผ่จากชุมชนสู่ทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง และ 4) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างทำการประเมินระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 9 เมษายน 2564 (ปีการศึกษา 2563) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

จากการประเมิน พบว่า ภาพรวมของโครงการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมศิลปหัตถกรรมการจักสานไม้ไผ่จากชุมชนสู่ทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.82)

1. ด้านบริบทของโครงการ มีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.80)

2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.81)

3. ด้านกระบวนการ มีกระบวนการบริหารงานในการวางแผนและปฏิบัติการของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ =4.64)

4. ด้านผลผลิตของโครงการ ทำให้เกิดผลผลิตของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ =4.93) และนักเรียนมีความพึงพอใจที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.88)

5. ด้านผลกระทบของโครงการ มีผลสะท้อนในด้านผลกระทบอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.90) และผู้ปกครองมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.89)

6. ด้านประสิทธิผลของโครงการ มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.83)

7. ด้านความยั่งยืนของโครงการ มีความยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.83)

8. ด้านการถ่ายโยงความรู้ มีการถ่ายโยงความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.80)


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,937