การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

โดย: ประทีป ทวีศรี [IP: 159.192.181.xxx]
เมื่อ: 2022-02-09 22:07:56
บทคัดย่อ



การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม (ปิยแหวนรังสรรค์) จำนวน 34 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่ม แบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียน 2) แบบสัมภาษณ์เจาะลึกแบบไม่มีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MRADEA เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4) แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ-เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 6) แบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ("x" ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการทดสอบค่าที (t-test)

สรุปผลการศึกษา

1. ผลการศึกษาสภาพและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการในการจัดการเรียนรู้ใน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่นักเรียนมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ครูใช้วิธีและเทคนิคการสอนที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนการสอนที่สนุกสนาน นักเรียนไม่เบื่อหน่าย ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และครูให้นักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่ม

2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีชื่อว่า “MRADEA” (MRADEA MODEL) ซึ่งมีขั้นตอนใน การจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น ได้แก่

ขั้นที่ 1 ขั้นการสร้างแรงจูงใจ (Motivation)

ขั้นที่ 2 ขั้นการทบทวนความรู้เดิม (Recalling)

ขั้นที่ 3 ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Active Learning)

ขั้นที่ 4 ขั้นการลงมือปฏิบัติกิจกรรม (Do)

ขั้นที่ 5 ขั้นการวัดและประเมินผล (Evaluation)

ขั้นที่ 6 ขั้นการปรับปรุงพัฒนา (Act)

2.2 ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบและเครื่องมือที่ใช้ประกอบรูปแบบ ปรากฏผล ดังนี้

2.2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ในภาพรวมรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 0.50

2.2.2 แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

2.2.3 แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิด-วิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏผลดังนี้

3.1 ผลการเปรียบเทียบคะแนนค่าประสิทธิภาพระหว่างและคะแนนค่าประสิทธิภาพหลังเรียน พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.71/82.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80

3.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ เรื่อง คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจหลังใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,383