การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยโรโบมายด์ รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 ของนักเรียนชั้

โดย: นิคม วุฒิยา [IP: 61.19.123.xxx]
เมื่อ: 2022-01-28 13:00:36
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยโรโบมายด์ รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยโรโบมายด์ รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อพัฒนาการจัดการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยโรโบมายด์ รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 จำนวน 38 คน ซึ่งได้ จากสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ1) เครื่องมือประกอบการจัดการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้ Google Classroom ได้แก่คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยโรโบมายด์ รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยโรโบมายด์ รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยโรโบมายด์ รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 ข้อ 3) แบบทดสอบรายแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 ฉบับ 4) ปฏิบัติการเขียนโปรแกรมด้วยโรโบมายด์ จำนวน 7 ฉบับ 5) แบบประเมินความความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยโรโบมายด์ รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X-bar) ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t - test for dependent) ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยโรโบมายด์ รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประสิทธิภาพเท่ากับ 84.79/83.55

2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยโรโบมายด์ รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อพัฒนาการจัดการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้ Google Classroom เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยโรโบมายด์ รายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมมากที่สุด (X-bar= 4.63, S.D. = 0.59) และสูงกว่าเกณฑ์ในระดับ 3.51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,598