การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE โรงเรียนเพชรวิทยาคาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

โดย: นายสันติ ถาวรพรหม [IP: 182.52.252.xxx]
เมื่อ: 2021-12-19 16:42:38
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการรณรงค์ปองกันและแกไขปญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE โรงเรียนเพชรวิทยาคาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

ผู้วิจัย นายสันติ ถาวรพรหม

ปีที่ทำการวิจัย 2563

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE โรงเรียนเพชรวิทยาคาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้การประเมินรูปแบบซิปเปียสท์ (CIPPIEST Model) ของดาเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Danial L.Stuffelbeam) ตามประเด็นการประเมิน 7 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportation Evaluation) และการสนทนากลุ่มเพื่อประเมินความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีทัศนคติ “เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่ง ยาเสพติด” ของสมาชิกชมรม ฯ ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการดำเนินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ให้ข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน คณะครู จำนวน 53 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 90 คน รวม 144 คน 2) กลุ่มที่ให้ข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม คือ คณะกรรมการบริหารชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนเพชรวิทยาคาร จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามจำนวน 7 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1) เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนการประมาณค่า (Rating scale) ด้วยเทคนิคการจัดแบบลิเกิร์ต (Likert) 5 ระดับ ตอนที่ 2) เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแบบปลายเปิด (Open-ended Form) เกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม และแบบสนทนากลุ่มซึ่งเป็นประเด็นการสนทนากลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีทัศนคติ “เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด” ของสมาชิกชมรม ฯ ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการดำเนินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผ่านการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหาสรุปข้อความคิดเห็น (Content analysis)

ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1. ด้านบริบท (Context) พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.80) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับพระราชดํารัสของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นโรงเรียนเพชรวิทยาคารมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.85) รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ของรัฐบาล, วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษายาเสพติด ปี 2562 ของ ปปส. และ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับ แนวทางการดำเนินโครงการ TO BE NUMBER ONE ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (ค่าเฉลี่ย=4.76) ตามลำดับ

2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.72) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความเหมาะสมของสถานที่ที่ใช้ในการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.80) รองลงมาคือ ความเหมาะสมของบุคลากรในการดำเนินโครงการ และ ความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ (ค่าเฉลี่ย=4.78) ความเหมาะสมของการบริหารจัดการการดำเนินโครงการของฝ่ายบริหาร (ค่าเฉลี่ย=4.76) ความเหมาะสมของแผนงานในการดำเนินโครงการ และ ความเพียงพอของบุคลากรในการดำเนินโครงการ (ค่าเฉลี่ย=4.70) ความเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ (ค่าเฉลี่ย=4.69) และความเพียงพอของงบประมาณในการดำเนินโครงการ (ค่าเฉลี่ย=4.59) ตามลำดับ

3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.70) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินการเมื่อพบข้อบกพร่องขณะดำเนินงานโครงการ และ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.74) รองลงมาคือ มีการประเมินผลแต่ละกิจกรรมในโครงการโดยใช้เทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย (ค่าเฉลี่ย=4.72) มีการติดตามประสานงานการจัดกิจกรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และ มีการกำกับ ติดตาม ควบคุมการดำเนินงานโครงการ (ค่าเฉลี่ย=4.70) มีการดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนงานที่กำหนดไว้, มีการจัดกิจกรรมโครงการในรูปแบบที่หลากหลายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโครงการ และ มีการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างทั่วถึง (ค่าเฉลี่ย=4.69) และมีการกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย=4.67) ตามลำดับ

4. ด้านผลกระทบ พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวม ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.23) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผู้เรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.27) รองลงมาคือ ผู้เรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ค่าเฉลี่ย=4.26) ผู้เรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและกระแสนิยมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด (ค่าเฉลี่ย=4.24) ผู้เรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและกระแสนิยมในการป้องกันยาเสพติด (ค่าเฉลี่ย=4.20) และผู้เรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติดในสังคมไทยและสังคมโลก (ค่าเฉลี่ย=4.19) ตามลำดับ

5. ด้านประสิทธิผล พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.72) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การเป็นสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE ของผู้เรียนโรงเรียนเพชรวิทยาคารมีค่าเฉลี่ย สูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.87) รองลงมาคือ การเป็นศูนย์เรียนรู้ TO BE NUMBER ONE ของอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ (ค่าเฉลี่ย=4.78) การเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนโครงการ TO BE NUMBER ONE ของโรงเรียนในจังหวัดชัยภูมิ (ค่าเฉลี่ย=4.74) ทักษะในการดำเนินชีวิต ภูมิคุ้มกันทางจิตใจของผู้เรียนและชุมชน (ค่าเฉลี่ย=4.70) ศักยภาพ ความสามารถด้านต่าง ๆ ทักษะการเข้าสังคม เยาวชนต้นแบบเก่งและดี TO BE NUMBER ONE ของผู้เรียน และ โรงเรียนมีการใช้ศูนย์การเรียนรู้ TO BE NUMBER ONE ในชั่วโมงเรียน 4 เอช (4H) (ค่าเฉลี่ย=4.69) และการนำหลักการ 3ก3ย ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน (ค่าเฉลี่ย=4.61) ตามลำดับ

6. ด้านความยั่งยืน พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.31) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การมีจิตอาสาของคณะกรรมการบริหารชมรม TO BE NUMBER ONE และ การตั้งศูนย์ เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.45) รองลงมาคือ การอบรมอาสาสมัครแกนนำศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE และ ความต่อเนื่องของการดำเนินกิจกรรม กิจกรรม TO BE NUMBER ONE สานฝันประชาธิปไตย (ค่าเฉลี่ย=4.40) การรณรงค์การป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดทั้งในและนอกสถานศึกษา, ความต่อเนื่องของการดำเนินกิจกรรม TO BE NUMBER ONE รักษ์สิ่งแวดล้อม, ความต่อเนื่องของการดำเนินกิจกรรม TO BE NUMBER ONE Entertainment และ ความต่อเนื่องของการดำเนินกิจกรรม TO BE NUMBER ONE เติมฝันวัยทีน (ค่าเฉลี่ย=4.38) การพัฒนาเครือข่ายชมรม TO BE NUMBER ONE (ค่าเฉลี่ย=4.37) การจัดทำสื่อเพื่อการรณรงค์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ค่าเฉลี่ย=4.36) ความสามารถของคณะกรรมการบริหารชมรม TO BE NUMBER ONE และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชมรม TO BE NUMBER ONE อื่น ๆ (ค่าเฉลี่ย=4.34) ภาวะผู้นำของคณะกรรมการบริหารชมรม TO BE NUMBER ONE และ ความต่อเนื่องของการดำเนินกิจกรรม TO BE NUMBER ONE แบ่งปันความสุข (ค่าเฉลี่ย=4.33) ความต่อเนื่องของการดำเนินกิจกรรม TO BE NUMBER ONE น้อมใจใฝ่ธรรมะ (ค่าเฉลี่ย=4.24) กองทุนที่ได้มาจากการระดมทุนภายนอกโรงเรียน (ค่าเฉลี่ย=4.20) กองทุนที่ได้มาจากการระดมทุนภายในโรงเรียน (ค่าเฉลี่ย=4.17) ปัญหาของการดำเนินโครงการ TO BE NUMBER ONE (ค่าเฉลี่ย=4.06) และ อุปสรรคในการดำเนินโครงการ TO BE NUMBER ONE (ค่าเฉลี่ย=3.93) ตามลำดับ

7. ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.58) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความถี่ในการให้บริการศูนย์การเรียนรู้ TO BE NUMBER ONE แก่ผู้เรียนของโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.65) รองลงมาคือ ความถี่ในการให้บริการศูนย์การเรียนรู้ TO BE NUMBER ONE แก่บุคลากรของโรงเรียนและสถานศึกษาอื่น ๆ ในจังหวัดชัยภูมิ และ ความถี่ในการให้บริการศูนย์การเรียนรู้ TO BE NUMBER ONE แก่สถานศึกษาอื่น ๆ ในประเทศไทย (ค่าเฉลี่ย=4.59) ความถี่ในการสร้างเครือข่าย TO BE NUMBER ONE กับสถานศึกษาอื่น ๆ หน่วยงาน องค์กร และชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ (ค่าเฉลี่ย=4.56) และความถี่ในการสร้างเครือข่าย TO BE NUMBER ONE กับสถานศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน (ค่าเฉลี่ย=4.52) ตามลำดับ

8. ผลการสนทนากลุ่มกับคณะกรรมการบริหารชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนเพชรวิทยาคาร เพื่อประเมินพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีทัศนคติ “เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด” ของสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนเพชรวิทยาคาร ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการดำเนินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE พบว่า สมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนเพชรวิทยาคารส่วนใหญ่ ค้นพบสิ่งที่ตน ชื่นชอบ สนใจ และมีความถนัด โดยได้จัดตั้งกลุ่มเพื่อรวบรวมสมาชิกกลุ่มใหญ่ อาทิ กลุ่มดนตรี กลุ่มกีฬา กลุ่มศิลปะ และกลุ่มนาฏศิลป์ และได้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยแขนงต่าง ๆ คือ กลุ่มดนตรีสากล กลุ่มนักร้องกลุ่มดนตรีไทย กลุ่มดนตรีพื้นบ้าน กลุ่มวอลเลย์บอล กลุ่มฟุตบอล กลุ่มฟุตซอล กลุ่มเทเบิลเทนนิส กลุ่มแบดมินตัน กลุ่มจิตรกรรมลายเส้น กลุ่มจิตรกรรมสีน้ำ กลุ่มจิตรกรรมสีโปสเตอร์ กลุ่มประติมากรรม กลุ่มนาฏศิลป์ไทย และกลุ่มนักเต้น โดยแต่ละกลุ่มย่อยมีความกระตือรือร้นเพียรพยายามใช้เวลาว่างในการแสวงหาความรู้ เทคนิค วิธีการ และฝึกฝนทักษะ ในสิ่งที่ตนมีความชื่นชอบ สนใจ และถนัด อยู่เป็นประจำ และมีความเพียรพยายามในการแสดงความสามารถด้วยการจัดแสดงภายในโรงเรียน การเข้าประกวดและแข่งขันในระดับต่าง ๆ ซึ่งผลการประกวดและการแข่งขันมีทั้งประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างไรก็ดี จากการที่สมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE โรงเรียนเพชรวิทยาคาร ส่วนใหญ่มีโอกาสในการแสดงออกและการประกวดแข่งขันต่าง ๆ ทำให้มีความสุข มีความเชื่อมั่น และมีความภาคภูมิใจในตนเอง อันเป็นพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การมีทัศนคติ “เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด” ในที่สุด

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,994