การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศ

โดย: นางสาวเจนจิรา คำมิ่ง [IP: 101.109.48.xxx]
เมื่อ: 2021-12-12 13:17:51
แนวทาง วิธีการปฏิบัติงาน/การจัดการเรียนการสอน

แนวคิดการพัฒนาผลงานทางวิชาการมาจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียนที่รับผิดชอบ ตามหลักวิชาการ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ควบคู่กับการวิจัยในชั้นเรียน ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของนักเรียน โดยการผลิตสื่อและนวัตกรรมเพื่อใช้ประกอบกระบวนการจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการสอดแทรกคุณธรรมเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข

การสร้างองค์ความรู้ได้จัดการเรียนรู้ควบคู่กับการวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์นักเรียนรายบุคคล สร้างและนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้แก่ผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดบรรยากาศที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ ใช้สื่อต่างๆและเทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนรู้ จึงได้สร้างและนำชุดบทบาทหน้าที่เด็กดีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

๒. เพื่อพัฒนาชุดบทบาท เรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐

๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดบทบาท เรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒







เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย

๑. ชุดบทบาท เรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่สร้างขึ้น จำนวน ๑๐ เล่ม

๒. แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดบทบาท เรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๑๒ แผน

๓. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชุดบทบาท เรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๒๐ ข้อ

วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า

๑. ผู้จัดทำได้อธิบายชี้แจงทำความตกลงกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในเรื่อง การเรียน เวลาเรียน และวิธีการ

ในการเรียน

๒. ทำการเก็บข้อมูลก่อนทดลอง โดยให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน ๒๐ ข้อ เพื่อนำคะแนนที่ได้เป็นคะแนนทดสอบก่อนเรียน

๓. ให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเรียนด้วยชุดบทบาท เรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย สาระที่ 2 หน้าที่พลเมืองวัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ทั้ง ๑๐ เล่มโดยมีการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนทุกครั้ง ทั้ง ๑๐ เล่ม

๔. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน ๒๐ ข้อ เพื่อนำคะแนนที่ได้เป็นคะแนนทดสอบหลังเรียนและทำแบบวัดความพึงพอใจ จำนวน ๑๐ ข้อ

๕. ตรวจผลการทำแบบทดสอบประจำเล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและแบบวัดความพึงพอใจ แล้วจึงนำไปวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติต่อไป

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลในสถานการณ์จริงในชั้นเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

การวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน นำมาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วเปรียบเทียบคะแนนความก้าวหน้าของนักเรียนแต่ละคน

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มที่ศึกษา คือ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทั้งหมดรวม ๒๐ คน มีการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน แล้วจึงดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย หลังจากนั้นจึงทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน แล้วจึงนำผลมาเก็บรวบรวม ข้อมูลก่อนเรียนและหลังเรียนที่รวบรวมได้จากเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาจำแนกผลการเรียนรู้ ดังนี้

ตารางที่ แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของนักเรียนในการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย

การฝึก จำนวนนักเรียน ผลรวม

X ค่าเฉลี่ย

X



ร้อยละ

ค่า S.D

ก่อนเรียน ๒๐ คน 231 11.55 57.75 2.31

หลังเรียน ๒๐ คน 341 17.05 85.25 1.05

จากตาราง สรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.55 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.05. จะเห็นได้ว่าคะแนนของค่าเฉลี่ยหลังเรียนมีค่ามากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 2.31 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 1.05 แสดงว่าข้อมูลมีค่าคะแนนใกล้เคียงกัน

สรุปผลการวิจัย

๑. ชุดบทบาท เรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐

๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดบทบาท เรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

๓. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วย๑. ชุดบทบาท เรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

ประโยชน์ที่ได้รับจากผลงาน

ผลจากการนำชุดบทบาท เรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและสถานศึกษา ดังนี้

๑) ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทยผ่านเกณฑ์การประเมิน

๒) ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเรื่อง บทบาทหน้าที่เด็กดีไทย และสร้างชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม

๓) ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในการเรียนรู้และมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น

๔) โรงเรียนมีสื่อ/นวัตกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนมากขึ้น


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,971