รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2563

โดย: นางอังคณี ล้อมจันทร์ [IP: 125.25.199.xxx]
เมื่อ: 2021-11-16 11:19:38
บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยใช้วิธีการประเมินสามลักษณะ คือ การประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น ใช้ผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และใช้ผลการประเมินจากแบบบันทึกผลการระดมทรัพยากรตามสภาพจริง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 335 คน ครู จำนวน 97 คน ผู้ปกครอง 335 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็น มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิดจำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .900-.998 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับจำนวน/ปริมาณของการระดมทรัพยากร จำนวน 4 ด้าน และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2560-2561 ของโรงเรียน ใช้บันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS (Statistical Package for Social Sciences for windows version 18) ผลการประเมินพบว่า

1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.61,S.D.=.16) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

( = 4.54, S.D. = .14) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู โดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = .18) ได้คะแนนเฉลี่ย

15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์

ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู

มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.59, S.D. = .12) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน

ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

( = 4.54, S.D. = .18) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.54,

S.D. = .15) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด

4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2563 ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่

4.1 จำนวน/ปริมาณของการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน จำแนกเป็น

4.1.1 ผลการระดมทรัพยากรด้านบุคคลหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น

22 รายการ ครอบคลุมการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนทุกระดับชั้น ตามความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

4.1.2 ผลการระดมทรัพยากรด้านเงินทุนของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2563 เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สามารถสนองความต้องการจำเป็นของโรงเรียน ในการบริหารจัดการตามแผนพัฒนาสถานศึกษา และของผู้รับบริจาค ปีการศึกษา 2563 เป็นเงิน 3,244,380 (สามล้านสองแสนสี่หมื่นสี่พันสามร้อยแปดสิบบาทถ้วน)

4.1.3 ผลการระดมทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ และสิ่งก่อสร้าง ของโครงการ ระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2563 เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สามารถสนองความต้องการจำเป็นของโรงเรียน ในการบริหารจัดการตามแผนพัฒนาสถานศึกษาและของผู้รับบริจาค ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 11 รายการ เป็นเงิน 8,377,050 บาท (แปดล้านสามแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันห้าสิบบาทถ้วน) ส่งผลให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนสูงขึ้น

4.1.4 ผลการระดมทรัพยากรด้านการบริหารจัดการโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร”

ปีการศึกษา 2563 สามารถบริหารจัดการ โดยส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ตามโครงสร้างโรงเรียนนิติบุคคล ครอบคลุมทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป อย่างต่อเนื่อง

4.2 แสดงผลด้านการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้านของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร”ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.66, S.D. = .16) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = .24) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.57, S.D. = .37) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด

4.3 แสดงผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.66, S.D. = .32) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมา ได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = .28) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.52, S.D. = .32) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด

4.4 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2563 พบว่า ปีการศึกษา 2563 ทุกมาตรฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีและดีมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า

ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด

( = 4.65, S.D. = .30) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ นักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = .32) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

( = 4.55, S.D. = .32) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด



ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้

1. โรงเรียนควรชี้แจง ทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง

2. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบ และแนวทางในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตามความเหมาะสม

3. โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการ และกิจกรรมต่างๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการระดมทรัพยากรการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน

ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป

1. ให้มีการประเมินผลการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า กับการลงทุนทางการศึกษาของรัฐและเกิดความเสมอภาค

2. ให้มีการประเมินความต้องการจำเป็นของทรัพยากรทางการศึกษาเป็นรายด้านเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับขนาดของโรงเรียน

3. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา

ตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป




ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,276