การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL

โดย: ยะฮารา มะดีเยาะ [IP: 223.204.248.xxx]
เมื่อ: 2021-09-09 11:41:18
บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย นางสาวยะฮารา มะดีเยาะ

ปีการศึกษา 2562





การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ

2.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL ก่อนและหลังเรียน 2.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODELก่อนและหลังเรียน และ2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้หลังการเรียนตามรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม มีนักเรียน จำนวน 26 คน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยในลักษณะของงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ที่มีลักษณะเป็นแบบแผนเชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน (The Embedded Design) ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) เสริมด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) และใช้แบบแผนการทดลองแบบทดสอบกลุ่มเดียวสอบก่อน-หลัง (The One Group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) พบว่า

1. รูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 องค์ประกอบของรูปแบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ เน้นที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นเองอย่างเป็นระบบ และผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมที่เน้นการร่วมมือกันเรียนรู้

2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 เตรียมพร้อม (Y : Yare) ขั้นที่ 2 เชื่อมโยง (A: Associate) ขั้นที่ 3 ช่วยเหลือ (H: Help) ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ (A: Analyses) ขั้นที่ 5 ทบทวน (R: Review) ขั้นที่ 6 สรุป

(A: Abstract) 4) การวัดและประเมินผล 2 ด้าน คือ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วยผู้เรียนต้องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีความรับผิดชอบ และมุ่งมั่นในการทำงาน รวมทั้งภาระงานที่มอบหมายให้ผู้เรียนต้องท้ายทายความสามารถของผู้เรียน มีความเหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา ผลการหาค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ E1/E2 กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 80.35/81.52

2. ประสิทธิผลรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสรุปดังนี้

2.1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ .01

2.2 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ .01

2.3 นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้หลังการเรียนตามรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.59, S.D = 0.66)


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,963