การพัฒนาการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้าน คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2

โดย: สุภิญญา เงินพรหม [IP: 110.77.247.xxx]
เมื่อ: 2021-07-10 10:11:33
หัวข้อเรื่องที่ศึกษา การพัฒนาการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้าน

คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2

ชื่อผู้ศึกษา นางสุภิญญา เงินพรหม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

หน่วยงานที่สังกัด เทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร

สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาลอ้อมน้อย

ปีที่วิจัย 2562

บทคัดย่อ

การพัฒนาการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของ

นักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีแบบแผน ส่งผลให้เกิดการ

เรียนรู้และเพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับชั้นต่อไป การวิจัยครั้งนี้มี

วัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนามโน

ทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 และ 2) เปรียบเทียบ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนามโน

ทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบไม่เข้าขั้นการทดลอง

(Pre–Experimental Design) รูปแบบการวิจัยที่ใช้ในครั้งนี้เป็นแบบกลุ่มเดียว โดยทำการทดสอบก่อนและหลัง

เรียน (One Group Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียน

เทศบาลอ้อมน้อย เทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562

จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random sampling) แบบจับลาก

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มโนทัศน์

ด้านคณิตศาสตร์จำนวน 16 แผน ใช้เวลาสอนรวม 16 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่2 เป็น

แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.33–0.73 ค่า

อำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.21–0.94 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่า

ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์

ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 มีค่า E1 /E2 เท่ากับ 82.07/81.89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยเพื่อ

พัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ของกลุ่มทดลอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,870