การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้รูปแบบการสอน STAD ร่วมกับ TGT หน่วยการเรียนรู้วัฒนธรรมกับสังคมไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

โดย: นางสุทธารักษ์ ดรุณนารถ [IP: 180.180.158.xxx]
เมื่อ: 2019-08-23 17:32:54
บทคัดย่อ



การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2)เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนแบบร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการสอน STAD ร่วมกับ TGT หน่วยการเรียนรู้ วัฒนธรรมกับสังคมไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการสอน STAD ร่วมกับ TGT หน่วยการเรียนรู้วัฒนธรรมกับสังคมไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการสอน STAD ร่วมกับ TGT หน่วยการเรียนรู้วัฒนธรรมกับสังคมไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการสอน STAD ร่วมกับ TGT แบบประเมินรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน



ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า ครูผู้สอนยังคงเน้นการบรรยายเนื้อหาเป็นหลัก ไม่มีรูปแบบการสอน เทคนิควิธีการสอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอนไม่น่าสนใจ ครูผู้สอนใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนน้อย สื่อ อุปกรณ์ไม่เพียงพอ เก่าและขาดคุณภาพ ครูขาดการบูรณาการการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น นักเรียนมีความหลากหลายและแตกต่างกัน แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนไม่เพียงพอ นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน ขาดความสามารถด้านกระบวนการคิด ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจใฝ่เรียนรู้

2. องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนแบบร่วมมือ พบว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคนสนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนบรรลุตามวัตถุประสงค์ สมาชิกแต่ละคนในทีมจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในการเรียนรู้ และจะได้รับการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจเพื่อที่จะช่วยเหลือและเพิ่มพูนการเรียนรู้ของสมาชิกในทีม

3. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการสอน STAD ร่วมกับ TGT

3.1 ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการสอน STAD ร่วมกับ TGT พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือรูปแบบวิธีสอนที่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ให้มากที่สุด ได้แก่ การเรียนแบบการประสบความสำเร็จเป็นทีม (STAD) และการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นนำเสนอบทเรียนต่อชั้นเรียน ขั้นศึกษากลุ่มย่อย ขั้นทดสอบย่อยรายบุคคล ขั้นคิดคะแนนพัฒนาการรายบุคคล ขั้นการแข่งขันทางวิชาการ และขั้นการกำหนดทีมที่ได้รับการยกย่อง

3.2 ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการสอนแบบ STAD ร่วมกับ TGT โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการสอน STAD ร่วมกับ TGT พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 83.15/84.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้

4. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการสอน STAD ร่วมกับ TGT พบว่า ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

5. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้รูปแบบการสอน STAD ร่วมกับ TGT หน่วยการเรียนรู้อาเซียนศึกษา ปพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.164)


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,503