แผนการจัดการเรียนรู้ 2-67 ครูรจนา

โดย: รจนา แสงสุธา [IP: 58.10.153.xxx]
เมื่อ: 2025-03-25 11:33:20
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเคลื่อนที่และแรง

รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567

วันที่ ......... เดือน ........................... พ.ศ. 2567 เวลา 4 ชั่วโมง



1. มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้

ว 2.2 ม.4-6/1 วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลความเร็วกับเวลาของการเคลื่อนที่ของวัตถุเพื่ออธิบายความเร่งของวัตถุ (ตัวชี้วัดนำทาง)





2. สาระสำคัญ

การเคลื่อนที่ เป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ ผลของการเปลี่ยนตำแหน่งจะได้ขนาดความยาวของเส้นทางการเปลี่ยนตำแหน่ง เรียกว่า ระยะทาง จึงเป็นปริมาณสเกลาร์ แต่ถ้าการเปลี่ยนตำแหน่งนั้นมีทิศทางที่แน่นอน คือ มีทิศจากตำแหน่งเริ่มต้นไปยังตำแหน่งสุดท้าย สิ่งที่ได้จะมีทั้งขนาดและทิศทาง เรียกว่า การกระจัด จึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ การเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ เมื่อนำไปเทียบกับเวลา จะทำให้รู้ว่าวัตถุนั้นเคลื่อนที่เร็วหรือช้า เรียกว่า มีอัตราเร็ว หรือความเร็ว โดยอัตราเร็วคิดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงระยะทาง จึงเป็นปริมาณสเกลาร์ ส่วนความเร็วคิดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงการกระจัด และเป็นปริมาณเวกเตอร์ การเคลื่อนที่ของวัตถุใด ๆ เมื่อความเร็วไม่เท่าเดิม แสดงว่ามีการเร่งให้วัตถุนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเรียกว่า เกิดความเร่งขึ้นกับวัตถุนั้น และขนาดของความเร่งสามารถหาได้จากอัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็ว ความเร่ง จึงเป็นปริมาณเวกเตอร์



3. จุดประสงค์การเรียนรู้

3.1 อธิบายการเคลื่อนที่แนวตรงและความเร่งที่เกี่ยวข้อง (K)

3.2 วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลความเร็วกับเวลาเพื่ออธิบายความเร่งของวัตถุ (P)

3.3 มีทักษะการคำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ในแนวตรง (P)

3.4 มีจิตวิทยาศาสตร์ด้านความมีเหตุผลและความรอบคอบจากการอภิปรายร่วมกัน(A)





4. สาระการเรียนรู้

4.1 ตำแหน่ง ระยะทาง และการกระจัด

4.2 อัตราเร็วและความเร็วของวัตถุ

4.3 ความเร่ง







5. สมรรถนะสำคัญ

5.1 ความสามารถในการสื่อสาร

5.2 ความสามารถในการคิด

5.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา

5.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี



6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

6.1 มีจิตสาธารณะ

6.2 มีจิตวิทยาศาสตร์





7. ภาระงาน/ชิ้นงาน

-



8. กิจกรรมการเรียนรู้ เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model

ชั่วโมงที่ 1-2

ก่อนกิจกรรมการเรียนการสอน

1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ

2. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ เพื่อตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเป็นรายบุคคลก่อนเข้าสู่กิจกรรม



ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Engage)

1. ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้รูป 1.1 ในหนังสือเรียน เพื่อนำนักเรียนร่วมอภิปรายเพื่อตอบคำ ถามว่า รถคันใดมีการเคลื่อนที่ เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

2. ครูถามคำถามกระตุ้นว่า ในการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งสองลักษณะ มีปริมาณใด ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่บ้าง และให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามปากเปล่าโดยไม่มีการเฉลยว่าถูกหรือผิด

3. ครูใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนเกิดปัญหาและสืบเสาะหาความรู้เพื่อให้ได้คำตอบ ว่า “อะไรคือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้วัตถุสามารถเคลื่อนที่ได้”



ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจค้นหา (Explore)

4. ครูใช้รูป 1.2 ในหนังสือเรียน นำนักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับการอธิบายการเคลื่อนที่และเปลี่ยน ตำแหน่งของวัตถุโดยเปรียบเทียบระยะห่างจากจุดอ้างอิง

5. ให้นักเรียนศึกษาข้อมูลจากหนังสือเรียนเพื่อได้ว่า ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของชายในรูป 1.2

มีปริมาณใดบ้างที่เกี่ยวข้อง (มี 2 ปริมาณ คือ ระยะทางซึ่งเป็นปริมาณสเกลาร์และ การกระจัดซึ่งเป็นปริมาณเวกเตอร์)

6. ครูพูดคุยซักถามเกี่ยวกับเรื่องระยะทางและการกระจัดพร้อมตั้งประเด็นคำถาม เพื่อให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น เช่น

ถ้านักเรียนเดินจากโรงเรียนกลับบ้านโดยที่เดินตรงไปทางทิศใต้ 500 เมตร แล้วเดินต่อไปทางทิศตะวันออกอีก 150 เมตร แล้วเดินต่อไปทางทิศหนืออีก 500 เมตร จึงถึงบ้าน นักเรียนคิดว่าระยะทางการเดินจากโรงเรียนกลับบ้านเป็นเท่าไร

(แนวตอบ : ระยะทางทั้งหมดเท่ากับ 500 + 150 + 500 = 1,150 เมตร)

จากการเดินทางกลับบ้านของนักเรียน อยากทราบว่าระหว่างโรงเรียนและบ้านของนักเรียนมีการกระจัดเท่าไร

(แนวตอบ : การกระจัดเท่ากับ 1,150 – 1,000 = 150 เมตร ในทิศตะวันออก)

7. ครูให้นักเรียนสืบเสาะหาความรู้ข้อเปรียบเทียบหรือข้อแตกต่างระหว่างระยะทางและการกระจัด จากสื่อ ต่าง ๆ เช่น จากหนังสือเรียน อินเทอร์เน็ต แล้วเขียนสรุปตามความเข้าใจของตนเองลงในสมุดบันทึกประจำตัว



ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายความรู้ (Explain)

8. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับปริมาณดังกล่าวตามรายละเอียดใน หนังสือเรียน โดยครูอาจทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับปริมาณทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นปริมาณเวกเตอร์ และปริมาณสเกลาร์อื่น ๆ เช่น เวลา อุณหภูมิ มวล ความยาว พื้นที่ และปริมาตร เป็นปริมาณสเกลาร์ ส่วนแรงและน้ำ หนัก เป็นปริมาณเวกเตอร์

9. ฝึกทักษะการคำนวณ เรื่อง ระยะทางและการกระจัด



ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความเข้าใจ (Elaborate)

10. ครูนำอภิปรายสรุปเนื้อหา เรื่อง ระยะทางและการกระจัด โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม

11. นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง ระยะทางและการกระจัด



ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate)

12. ครูตรวจสอบผลจากการทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง ระยะทางและการกระจัด



ชั่วโมงที่ 3



ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Engage)

1. ครูนำ เข้าสู่หัวข้ออัตราเร็วและความเร็วของวัตถุโดยใช้รูป 1.3 ในหนังสือเรียน นำนักเรียนอภิปรายเพื่อตอบคำ ถามว่า นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่า นักวิ่งคนใดเคลื่อนที่เร็ว และนักวิ่งคนใดเคลื่อนที่ช้า

2. ครูถามคำถามกระตุ้นว่า สำหรับในกรณีที่ใช้ระยะเวลาในการเคลื่อนที่เท่า กัน จะทราบได้อย่างไรว่า นักวิ่งคนใดเคลื่อนที่เร็ว และนักวิ่งคนในเคลื่อนที่ช้า (การเปรียบเทียบการเคลื่อนที่ของนักวิ่งที่เคลื่อนที่ในเวลาที่เท่ากัน สามารถทำ ได้โดยการพิจารณา ระยะทางที่นักวิ่งเคลื่อนที่ได้ โดยนักวิ่งที่เคลื่อนที่ได้ระยะทางมากจะเคลื่อนที่เร็วกว่านักวิ่งที่เคลื่อนที่ ได้ระยะทางน้อย)



ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจค้นหา (Explore)

3. ให้นักเรียนศึกษาข้อมูลจากหนังสือเรียนว่าในการพิจารณาว่านักวิ่งหรือวัตถุเคลื่อนที่ช้าหรือเร็ว สามารถเปรียบเทียบเทียบได้จากสิ่งใด

4. ครูให้นักเรียนศึกษาตัวอย่าง 1.1 ในหนังสือเรียนโดยครูเป็นผู้ให้แนะนำ

ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายความรู้ (Explain)

5. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับอัตราเร็วและความเร็วตามรายละเอียดในหนังสือเรียน

6. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการหาอัตราเร็วเฉลี่ย อัตราเร็ว ขณะหนึ่ง ความเร็วเฉลี่ย และความเร็วขณะหนึ่ง ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน โดยครูอาจใช้ตัวอย่าง มาตรอัตราเร็วรถดังรูป 1.4 ในหนังสือเรียน เพื่อแสดงมาตรบอกอัตราเร็วของยานพาหนะขณะอ่าน ค่าและอัตราเร็วเฉลี่ย

7. ฝึกทักษะการคำนวณ เรื่อง อัตราเร็วและความเร็วของวัตถุ



ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความเข้าใจ (Elaborate)

8. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสำคัญของการบอกอัตราเร็วเฉลี่ยและอัตราเร็วขณะหนึ่ง เพราะในบางกรณีที่วัตถุมีการเปลี่ยนแปลงอัตราเร็วระหว่างการเคลื่อนที่ทำ ให้อัตราเร็วเฉลี่ยอาจมีค่า ไม่เท่ากับอัตราเร็วขณะหนึ่ง โดยยกตัวอย่างในชีวิตประจำ วัน เช่น การออกแบบโครงสร้างกังหันลม ผลิตไฟฟ้า ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน และการกำหนดตารางการเดินรถสาธารณะ ซึ่งการเดินรถ ในแต่ละคันอาจมีอัตราเร็วขณะหนึ่งไม่เท่ากัน แต่อัตราเร็วเฉลี่ยตลอดการเดินทางจะต้องมีค่า ใกล้เคียงกัน เพื่อให้รถดังกล่าวถึงจุดจอดระหว่างทางหรือถึงปลายทางตามกำหนดเวลา

9. นักเรียนทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง อัตราเร็วและความเร็วของวัตถุ



ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate)

10. ครูตรวจสอบผลจากการทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง อัตราเร็วและความเร็วของวัตถุ



ชั่วโมงที่ 4



ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Engage)

1. ครูนำ เข้าสู่หัวข้อความเร่ง โดยให้นักเรียน อภิปรายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีการเปลี่ยนแปลงความเร็ว



ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจค้นหา (Explore)

3. ครูให้นักเรียนศึกษาตัวอย่าง 1.2 ในหนังสือเรียนโดยครูเป็นผู้ให้แนะนำ



ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายความรู้ (Explain)

4. ครูชี้แจงนักเรียนว่า การเคลื่อนที่แนวตรงที่นักเรียนได้ศึกษามานั้นเป็นการเคลื่อนที่แนวตรงใน แนวระดับ ซึ่งในชีวิตประจำ วันยังมีการเคลื่อนที่แนวตรงในแนวดิ่งด้วย เช่น การตกของผลไม้ใน แนวดิ่ง

6. ครูให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า การเคลื่อนที่แนวตรงในแนวดิ่งเหมือนหรือแตกต่าง จากการเคลื่อนที่แนวตรงในแนวระดับอย่างไร โดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่าง อิสระและไม่คาดหวังคำ ตอบที่ถูกต้อง



ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความเข้าใจ (Elaborate)

7. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มวางใจ ห่วงใย ใกล้ชิด แล้วทำกิจกรรม 1.1 การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ในหนังสือเรียนโดยมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์จุดบนแถบกระดาษเพื่ออธิบายความเร่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก

8. หลังจากทำ กิจกรรม 1.1 ครูนำ นักเรียนอภิปรายตามรายละเอียดในหนังสือเรียนจน สรุปได้ว่า วัตถุใด ๆ ที่ตกสู่พื้น หรือเคลื่อนที่ตกลงมาในแนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก โดยไม่คิดแรงต้านของอากาศ ที่เรียกว่า การตกแบบเสรี วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงตัว ที่เรียกว่า ความเร่งโน้มถ่วง



ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate)

9. ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แนวตรงจากการตอบคำ ถามตรวจสอบความเข้าใจกิจกรรมที่ 1.1

10. ทักษะการแก้ปัญหาและการใช้จำนวนจากการคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ แนวตรง



9. การวัดและการประเมินผล

วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน

- ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

การเคลื่อนที่แนวตรง - แบบทดสอบก่อนเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเคลื่อนที่แนวตรง - ประเมินผลตามสภาพจริง

- ทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง ระยะทางและการกระจัด - ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ระยะทางและการกระจัด - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

- ทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง อัตราเร็ว และความเร็วของวัตถุ - ใบงานที่ 1.2 เรื่อง อัตราเร็ว และความเร็วของวัตถุ - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

- ปฏิบัติกิจกรรม 1.1

การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก - ใบกิจกรรม 1.1

การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

- สังเกตพฤติกรรม

การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม

การทำงานรายบุคคล - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

- สังเกตพฤติกรรม

การทำงานกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรม

การทำงานกลุ่ม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

- สังเกตความมีจิตวิทยาศาสตร์ - แบบประเมินคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์ ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์





10. สื่อการเรียนรู้

10.1 หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ เล่ม 2

10.2 แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเคลื่อนที่แนวตรง

10.3 ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ระยะทางและการกระจัด

ใบงานที่ 1.2 เรื่อง อัตราเร็ว และความเร็วของวัตถุ

10.5 ใบกิจกรรม 1.1 การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก

10.6 อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก







11. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้

...........................................................................................................................................................................

...........................................................................................................................................................................

...........................................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................

...........................................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................

ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้

...........................................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................

...........................................................................................................................................................................

แนวทางการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค

...........................................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................





ลงชื่อ..................................................ครูผู้สอน

(นางรจนา แสงสุธา)



12. ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………



ลงชื่อ

(นางพรพิสมัย ประสานศักดิ์)

13. ความคิดเห็นของหัวหน้าฝ่ายวิชาการ

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………



ลงชื่อ

(นางรจนา แสงสุธา)

14. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..





ลงชื่อ..........................................

(นายอนุชา ขวาไทย)

ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา

................/..................................../..................





























































แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง

รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6



ชื่อ.............................................สกุล....................................ชั้น......เลขที่.....



คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. ปริมาณทางฟิสิกส์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ก. 1 ประเภท คือ ปริมาณแรง

ข. 2 ประเภท คือ ปริมาณเวลา และปริมาณเวกเตอร์

ค. 2 ประเภท คือ ปริมาณสเกลาร์ และปริมาณเวกเตอร์

ง. 3 ประเภท คือ ปริมาณสเกลาร์ ปริมาณเวกเตอร์ และปริมาณวิทยาศาสตร์

2. ข้อใดเป็นปริมาณเวกเตอร์

ก. เวลา ข. ความเร็ว

ค. อัตราเร็ว ง. ตำแหน่ง

3. ข้อใดเป็นนักวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ที่กล่าวถึง “กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือ”

ก. นิวตัน ข. แอมแปร์

ค. ไอน์สไตน์ ง. พีทาโกรัส

4. ข้อใดเป็นปริมาณเวกเตอร์ทั้งหมด

ก. น้ำหนัก เวลา ข. ความเร่ง มวล

ค. การกระจัด ความเร็ว ง. ระยะทาง อัตราเร็ว

5. ความหมายของปริมาณเวกเตอร์ข้อใดถูกต้องที่สุด

ก. ปริมาณที่มีขนาดเท่ากัน

ข. ปริมาณที่มีทิศทางแน่นอน

ค. ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง

ง. ปริมาณที่มีขนาดเพียงอย่างเดียว

6. ถ้าโยนวัตถุขึ้นในแนวดิ่ง การเคลื่อนที่ของวัตถุจะเป็นอย่างไร

ก. วัตถุมีความเร็วคงตัว

ข. วัตถุมีความเร็วมากขึ้น

ค. วัตถุมีความเร็วเป็นศูนย์

ง. วัตถุมีความเร็วลดลงตลอดเวลา

7. เด็กผู้ชายเดินไปทางทิศเหนือระยะทาง 30 เมตร จากนั้นเลี้ยวขวาเดินมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 40 เมตร จึงถึงจุดหมาย จงหาระยะทางและการกระจัดของเด็กผู้ชายที่เคลื่อนที่ได้

ก. ระยะทาง 10 เมตร และการกระจัด 30 เมตร

ข. ระยะทาง 40 เมตร และการกระจัด 70 เมตร

ค. ระยะทาง 70 เมตร และการกระจัด 10 เมตร

ง. ระยะทาง 70 เมตร และการกระจัด 50 เมตร

8. พิจารณารูปต่อไปนี้ ข้อใดบอกตำแหน่งได้ถูกต้อง









ก . รถยนต์ B อยู่ห่างจากรถยนต์ A 5 เมตร

ข . รถยนต์ A อยู่ห่างจากรถยนต์ B มาทางซ้าย 5 เมตร

ค . รถยนต์ A อยู่ห่างจากตู้ไปรษณีย์ไปทางขวา 10 เมตร

ง . มีข้อถูกมากกว่า 1 ข้อ

9. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา 1000 ครั้งใน 25 วินาที

ถ้าบนแถบกระดาษนับจุดได้ 51 ครั้ง จงหาเวลา

ที่เครื่องเคาะสัญญาณเวลาเคาะ

ก. 1.25 วินาที ข. 1.275 วินาที

ค. 1.00 วินาที ง. 0.24 วินาที

10. ถ้าปล่อยให้วัตถุตกลงในแนวดิ่งอย่างเสรี หากวัตถุนั้นตกกระทบพื้นดินในเวลา 5 วินาที ถามว่า วัตถุจะกระทบพื้นดินด้วยความเร็วเท่ากับกี่เมตรต่อวินาที

ก. 4.9 เมตรต่อวินาที

ข. 9.8 เมตรต่อวินาที

ค. 39.0 เมตรต่อวินาที

ง. 49.0 เมตรต่อวินาที





เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง

รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6





ข้อ คำตอบ

1 ค

2 ข

3 ง

4 ค

5 ค

6 ง

7 ง

8 ง

9 ข

10 ข

































ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ระยะทางและการกระจัด

รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้



1. รถคันหนึ่งเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะ 10 กิโลเมตร จากนั้นเคลื่อนที่กลับไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะ 4 กิโลเมตร จงหาระยะทางและการกระจัดของรถคันนี้





















2. วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่จากจุด A ไปทางทิศตะวันออกถึงจุด B เป็นระยะทาง 12 เมตร แล้วเคลื่อนที่ต่อไปทางทิศเหนือถึงจุด C เป็นระยะ 5 เมตร ดังภาพ จงหาระยะทางและการกระจัดของการเคลื่อนที่





























เฉลยใบงานที่ 1.1 เรื่อง ระยะทางและการกระจัด

รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้



1. รถคันหนึ่งเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะ 10 กิโลเมตร จากนั้นเคลื่อนที่กลับไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะ 4 กิโลเมตร จงหาระยะทางและการกระจัดของรถคันนี้



วิธีทำ





จากภาพสามารถหาระยะทางได้จาก

ระยะทาง = 10 km + 4 km

= 14 km

จากภาพสามารถหาการกระจัดได้จาก

การกระจัด = 10 km – 4 km

= 6 km

ดังนั้น ระยะทางเท่ากับ 14 กิโลเมตร และการกระจัดเท่ากับ 6 กิโลเมตร ในทิศตะวันออก



2. วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่จากจุด A ไปทางทิศตะวันออกถึงจุด B เป็นระยะทาง 12 เมตร แล้วเคลื่อนที่ต่อไปทางทิศเหนือถึงจุด C เป็นระยะ 5 เมตร ดังภาพ จงหาระยะทางและการกระจัดของการเคลื่อนที่











วิธีทำ ระยะทาง = AB + BC

= 12 m + 5 m

= 17 m

การกระจัด = AC

= √(〖(12)〗^2+〖(5)〗^2 )

= √(144+25)

= √169

= 13 m

ดังนั้น ระยะทางทั้งหมดเท่ากับ 17 เมตร และการกระจัดเท่ากับ 13 เมตร ทิศทางจากจุด A ไปจุด C







ใบงานที่ 1.2 เรื่อง อัตราเร็ว และความเร็วของวัตถุ

รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. อัตราเร็วและความเร็วเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร







2. รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่จากจุด A ไปทางทิศตะวันออกถึงจุด B เป็นระยะทาง 1,200 เมตร ใช้เวลาในการเคลื่อนที่ 2 นาที ไปทางทิศตะวันออก จงหาว่ารถคันนี้มีอัตราเร็วและความเร็วเท่าใด



























3. นักเรียนคนหนึ่งวิ่งรอบสนามฟุตบอลที่มีความกว้าง 50 เมตร และมีความยาว 100 เมตร ครบ 1 รอบ ในเวลา 300 วินาที และหยุดตรงจุดเริ่มต้นพอดี ระยะทางและอัตราเร็วในการวิ่งของนักเรียนคนนี้เป็นเท่าไร





















เฉลยใบงานที่ 1.2 เรื่อง อัตราเร็ว และความเร็วของวัตถุ

รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. อัตราเร็วและความเร็วเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ อัตราเร็วและความเร็วเป็นปริมาณที่บอกถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุว่าเคลื่อนที่ได้เร็วเท่าไรเหมือนกัน โดยจะต่างกันตรงที่อัตราเร็วเป็นปริมาณสเกลาร์ที่บอกขนาดอย่างเดียว แต่ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ที่บอกทั้งขนาดและทิศทาง



2. รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่จากจุด A ไปทางทิศตะวันออกถึงจุด B เป็นระยะทาง 1,200 เมตร ใช้เวลาในการเคลื่อนที่ 2 นาที ไปทางทิศตะวันออก จงหาว่ารถคันนี้มีอัตราเร็วและความเร็วเท่าใด





วิธีทำ เวลาในการเคลื่อนที่ 2 นาที เท่ากับ 120 วินาที

สามารถหาอัตราเร็วได้จากสมการ

อัตราเร็ว=ระยะทาง/เวลา

อัตราเร็ว=(1,200 m)/(120 s)

อัตราเร็ว = 10 m/s

สามารถหาความเร็วได้จากสมการ

ความเร็ว=การกระจัด/เวลา

ความเร็ว=(1,200 m)/(120 s)

ความเร็ว = 10 m/s

ดังนั้น อัตราเร็วเท่ากับ 10 เมตรต่อวินาที และความเร็วเท่ากับ 10 เมตรต่อวินาที ไปในทิศตะวันออก



3. นักเรียนคนหนึ่งวิ่งรอบสนามฟุตบอลที่มีความกว้าง 50 เมตร และมีความยาว 100 เมตร ครบ 1 รอบ ในเวลา 300 วินาที และหยุดตรงจุดเริ่มต้นพอดี ระยะทางและอัตราเร็วในการวิ่งของนักเรียนคนนี้เป็นเท่าไร

วิธีทำ ระยะทางทั้งหมด = 100 + 50 + 100 + 50

= 300 m

อัตราเร็ว=ระยะทาง/เวลา

อัตราเร็ว=(300 m)/(300 s)

อัตราเร็ว = 1 m/s

ดังนั้น ระยะทางทั้งหมดเท่ากับ 300 เมตร และมีอัตราเร็วในการวิ่งเท่ากับ 1 เมตรต่อวินาที









ใบกิจกรรม 1.1 การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก

รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6



สมาชิกกลุ่ม 1. ……………………………………………………… 2. …………………………………………………………

3. ……………………………………………………… 4. …………………………………………………………

จุดประสงค์

- วิเคราะห์จุดบนแถบกระดาษเพื่ออธิบายความเร่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก

เวลาที่ใช้ 30 นาที

วัสดุและอุปกรณ์

1. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา 1 ชุด

2. หม้อแปลง 1 เครื่อง

3. ถุงทราย 3 ถุง

4. แถบกระดาษ 3 แถบ

ข้อเสนอแนะการทำกิจกรรม

1. ขณะทำการทดลองต้องยึดเครื่องเคาะสัญญาณเวลาให้อยู่กับที่โดยใช้ตัวหนีบยึดรูปตัวซี (C clamp)

2. การยึดถุงทรายให้ติดกับปลายแถบกระดาษ ให้สอดปลายแถบกระดาษเข้าไปในห่วงของถุงทรายแล้วใช้ลวดเสียบกระดาษติดกับห่วงหรือใช้กระดาษกาวยึดแถบกระดาษกับห่วง

3. ควรจับแถบกระดาษให้ตรงและให้แถบกระดาษอยู่ในแนวดิ่ง



ผลการทำกิจกรรม

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………



คำถามท้ายกิจกรรม

1. ขณะที่ถุงทรายเคลื่อนที่ ความเร็วของถุงทรายมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………



2. ถุงทรายจำนวน 1 ถุง 2 ถุง และ 3 ถุง เคลื่อนที่ด้วยความเร่งเท่ากันหรือไม่ อย่างไร

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปผลการทำกิจกรรม

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

























ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม 1.1 การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก

รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6



สมาชิกกลุ่ม 1. ……………………………………………………… 2. …………………………………………………………

3. ……………………………………………………… 4. …………………………………………………………

จุดประสงค์

- วิเคราะห์จุดบนแถบกระดาษเพื่ออธิบายความเร่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก

เวลาที่ใช้ 30 นาที

วัสดุและอุปกรณ์

1. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา 1 ชุด

2. หม้อแปลง 1 เครื่อง

3. ถุงทราย 3 ถุง

4. แถบกระดาษ 3 แถบ

ข้อเสนอแนะการทำกิจกรรม

1. ขณะทำการทดลองต้องยึดเครื่องเคาะสัญญาณเวลาให้อยู่กับที่โดยใช้ตัวหนีบยึดรูปตัวซี (C clamp)

2. การยึดถุงทรายให้ติดกับปลายแถบกระดาษ ให้สอดปลายแถบกระดาษเข้าไปในห่วงของถุงทรายแล้วใช้ลวดเสียบกระดาษติดกับห่วงหรือใช้กระดาษกาวยึดแถบกระดาษกับห่วง

3. ควรจับแถบกระดาษให้ตรงและให้แถบกระดาษอยู่ในแนวดิ่ง



ผลการทำกิจกรรม

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………



คำถามท้ายกิจกรรม

1. ขณะที่ถุงทรายเคลื่อนที่ ความเร็วของถุงทรายมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร

แนวคำตอบ ความเร็วของถุงทรายมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากระยะทางในแต่ละช่วงจุดมีขนาดเพิ่มขึ้น แสดงว่า ถุงทรายมีความเร็วเพิ่มขึ้น





2. ถุงทรายจำนวน 1 ถุง 2 ถุง และ 3 ถุง เคลื่อนที่ด้วยความเร่งเท่ากันหรือไม่ อย่างไร

แนวคำตอบ ถุงทรายจำนวน 1 ถุง 2 ถุง และ 3 ถุง เคลื่อนที่ด้วยความเร่งเท่ากันเพราะระยะทางในแต่ละช่วงจุดในระดับเดียวกัน มีค่าประมาณเท่ากันทุกช่วงจุด



สรุปผลการทำกิจกรรม

วัตถุใด ๆ ที่ตกสู่พื้น หรือเคลื่อนที่ตกลงมาในแนวดิ่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกโดยไม่คิดแรงต้านของอากาศ ที่เรียกว่า การตกแบบเสรี วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงตัวที่เรียกว่า ความเร่งโน้มถ่วง สำหรับวัตถุ ที่อยู่สูงจากพื้นโลกไม่มากนัก ความเร่งโน้มถ่วงมีค่าประมาณ 9.8 เมตรต่อวินาที2 และมีทิศทางสู่พื้นโลกเสมอ แสดงว่า ในทุก ๆ 1 วินาที วัตถุมีความเร็วเพิ่มขึ้นประมาณ 9.8 เมตรต่อวินาที ซึ่งถือว่าเป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยขนาดของความเร่งนี้จะไม่ขึ้นกับมวลของวัตถุ








ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,159,263