รูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรี
โดย:
สมาน บิลละเต๊ะ
[IP: 1.47.147.xxx]
เมื่อ: 2024-08-11 10:23:56
ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า
ผู้วิจัย สมาน บิลละเต๊ะ
ปีที่ทำวิจัย 2564-2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียน บ้านปลักหว้า 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อ พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า วิธีดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอนตามรูปแบบของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development :
R&D) คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหาร ขั้นที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหาร และขั้นที่ 4 การประเมินผลรูปแบบการบริหาร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข โรงเรียน บ้านปลักหว้า ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 40 คน ของโรงเรียนบ้านปลักหว้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2565 รวมจำนวน 55 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์แบบประเมินผลการดำเนินงานการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุขแบบประเมินพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดและอบายมุขของนักเรียน แบบประเมินความเป็นประโยชน์ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องของรูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การ วิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เนื้อหา
(Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของรูปแบบการบริหาร จัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า พบว่า สภาพปัจจุบันโรงเรียนมีการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขอยู่ในระดับมาก (X = 4.50, S.D. = 0.53) เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ มาตรการด้านการป้องกัน มาตรการด้านการบริหารจัดการมาตรการด้านการเฝ้าระวัง มาตรการด้านการค้นหา และมาตรการด้านการรักษา ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและ ป้องกันยาเสพติด ดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด มีความรู ความเขาใจเกี่ยวกับยาเสพติด มีระบบและกลไกการดำเนินงานการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด การดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมทั้งในหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนเพื่อป้องกันยาเสพติดและเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักเรียน การสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชน
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า พบว่า รูปแบบการบริหาร มีองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบหลักได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ระบบงานและกลไก 4) กระบวนการบริหาร 5) ตัวชี้วัดความสำเร็จ 6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และ 7) คำอธิบายประกอบ ผลการตรวจสอบคุณภาพของ รูปแบบ โดยการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการบริหาร มีความเหมาะสมมากที่สุด (X= 4.53, S.D. = 0.56) และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด (X= 4.57, S.D. =
0.52)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า พบว่า
3.1 ผลการดำเนินงานของรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้าตามยุทธศาสตร์ 5 มาตรการ ปีการศึกษา 2565พบว่า โรงเรียนมีระดับการปฏิบัติงานการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขโดยรวมในระดับมากที่สุด (X= 4.54, S.D. = 0.51) เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ มาตรการด้านการรักษา มาตรการด้านการค้นหา มาตรการด้านการบริหารจัดการ มาตรการด้านการป้องกัน และมาตรการ ด้านการเฝ้าระวัง ตามลำดับ
3.2 ผลการประเมินพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดและอบายมุขของนักเรียน พบว่า นักเรียน
โรงเรียนบ้านปลักหว้า มีพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดและอบายมุข อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.52 S.D. = 0.52) เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านสื่อลามกอนาจาร รองลงมาคือด้านยาเสพติดการทะเลาะวิวาท และการพนัน ตามลำดับ
3.3 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ3 ขึ้นไปในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ปีการศึกษา 2566 เฉลี่ยร้อยละ 57.03
สูงกว่า ปีการศึกษา 2565 ที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 48.77 ร้อยละที่เพิ่มขึ้น คือ 16.93
3.4 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาในระดับดี - ดีเยี่ยม ปีการศึกษา 2566เฉลี่ยร้อยละ 94.00 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 ที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 90.20 สรุปว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกข้อเพิ่มขึ้นในระดับดี - ดีเยี่ยม ร้อยละที่เพิ่มขึ้น คือ 4.16
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า พบว่า
4.1 ผลการประเมินระดับพฤติกรรมเสี่ยงหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของนักเรียนโรงเรียน บ้านปลักหว้าจากข้อมูลนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2565-2566 พบว่า ไม่มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
4.2 รูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจร คุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนบ้านปลักหว้า มีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง ในระดับมากที่สุด (X = 4.53, S.D. = 0.51)
4.3 ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านปลักหว้า ในระดับมากที่สุด (X = 4.54, S.D. = 0.52)
4.4 รางวัลที่สถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนโรงเรียนบ้านปลักหว้า และชุมชน
ได้รับจากการดำเนินงานของรูปแบบการบริหารโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขตั้งแต่ระดับศูนย์ประสานงานทางการศึกษาขึ้นไป ในปีการศึกษา 2565-2566 จำนวน 21 รายการ เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด คือไม่น้อยกว่า 10 รายการ ผ่านเกณฑ์ตามกำหนด
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments