รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

โดย: นายโชคชัย ชัยประเสริฐ [IP: 171.97.78.xxx]
เมื่อ: 2024-02-25 09:53:15
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ในครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ด้านบริบท (context) 2) ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ด้านปัจจัยนำเข้า (input) 3) ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ด้านกระบวนการ (process) และ 4) ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ด้านผลผลิต (output) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมิน ได้แก่ ครู จำนวน 42 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 120 คน และนักเรียน จำนวน 285 คน ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ฉบับที่ 1-8 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินพบว่า

1. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการมุ่งพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทักษะชีวิต และการคุ้มครองนักเรียน รองลงมาคือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน ด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การเสริมสร้างทักษะชีวิต และการคุ้มครองนักเรียน และโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

2. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ด้านปัจจัยนำเข้าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ผู้บริหารและครูทำงานร่วมกันเป็นทีม และอำนวยความสะดวกการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน รองลงมาคือผู้บริหารและครูมีความพร้อมในการให้ความรู้ และปฏิบัติกิจกรรมและโครงการ และการบริหารงานโครงการมีความชัดเจนและเหมาะสม

3. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ด้านกระบวนการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรกได้แก่กิจกรรมเยี่ยมบ้าน รองลงมาคือกิจกรรมโฮมรูม และกิจกรรมซ่อมเสริมเติมความรู้

4. ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ด้านผลผลิต มีดังนี้

4.1 ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรกได้แก่ ด้านการปกป้องคุ้มครองนักเรียน รองลงมาคือด้านความปลอดภัยของนักเรียน และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน

4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมโฮมรูมได้อย่างมีประสิทธิภาพโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมโฮมรูมได้อย่าง มีประสิทธิภาพ รองลงมาคือ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน

4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรกได้แก่ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมาคือโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมโฮมรูมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโรงเรียนให้ความสำคัญต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามสภาพปัญหาและบริบท และนักเรียนได้ รับการดูแลอย่างทั่วถึง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น

4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรกได้แก่โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเครือข่ายผู้ปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมาคือ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมโฮมรูมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรกได้แก่ ครูเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างทั่วถึง รองลงมาคือนักเรียนมีปัญหาหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงมีจำนวนลดลง และผู้ปกครองนักเรียนเอาใจใส่กับพฤติกรรมของนักเรียนมากขึ้น


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,149,449