รูปแบบการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ โรงเรียนวัดอมรินทราราม
โดย:
นางภารดี ผางสง่า
[IP: 58.11.10.xxx]
เมื่อ: 2023-08-30 17:22:00
ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ของโรงเรียนวัดอมรินทราราม
ชื่อผู้วิจัย นางภารดี ผางสง่า
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรินทราราม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพของห้องเรียน 2) เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินการพัฒนาห้องเรียน 3) เพื่อศึกษาความคาดหวังต่อการพัฒนาห้องเรียน 4) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาห้องเรียน 5) เพื่อปฏิบัติการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ และ 6) เพื่อศึกษาผลการดำเนินการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ โดยใช้หลักการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการศึกษาสภาพ ปัญหา ความคาดหวัง และแนวทางในการพัฒนาห้องเรียน ส่วนระยะการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggart โดยใช้วงจรการวิจัย PAOR จำนวน 2 วงรอบ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ได้ใช้แบบสอบถาม การศึกษาเอกสาร (Document Study) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการใช้เทคนิค SWOT กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยประกอบด้วยประกอบด้วยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ศิษย์เก่าของโรงเรียน และนักเรียน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ทั้งนี้ ในการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,319 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 44 คน
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. สภาพห้องเรียนก่อนดำเนินการพัฒนา โรงเรียนวัดอมรินทรารามมีสภาพห้องเรียนก่อนดำเนินการพัฒนาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสภาพการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านบรรยากาศห้องเรียน รองลงมา ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยสภาพการพัฒนาต่ำที่สุด คือ การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
2. ปัญหาการดำเนินงานพัฒนาห้องเรียน โรงเรียนวัดอมรินทราราม มีปัญหาการดำเนินการพัฒนาห้องเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยปัญหาการดำเนินการพัฒนาสูงที่สุด คือ ขั้นการตรวจสอบ รองลงมา ขั้นการวางแผน และขั้นการดำเนินการ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยปัญหาการดำเนินการพัฒนาต่ำที่สุด คือ ขั้นการสะท้อนผล
3. ความคาดหวังต่อการพัฒนาห้องเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและศิษย์เก่าของโรงเรียน มีความคาดหวังต่อการพัฒนาห้องเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยความคาดหวังสูงที่สุด คือ ด้านบรรยากาศห้องเรียน รองลงมา คือ การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และด้านส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยความคาดหวังต่ำที่สุด คือ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
4. แนวทางในการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ
สร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาห้องเรียน กำหนดบทบาท/หน้าที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน กำหนดแนวทางและเป้าหมายของการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ 4 ด้าน คือ ด้านบรรยากาศห้องเรียน ด้านส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5. ผลการดำเนินการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ
จากผลการดำเนินรูปแบบการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ของโรงเรียนวัดอมรินทราราม โดยภาพรวมพบว่า ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจต่อการเปลี่ยนแปลงของห้องเรียนที่ได้รับการพัฒนา โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในห้องเรียน ให้มีความสะอาดและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านรูปธรรมอย่างเห็นได้ชัดเจน ห้องเรียนมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ส่งผลให้นักเรียนเกิดการพัฒนาตนเองเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คณะครูได้พัฒนาตนเองในการใช้สื่อ ICT ในการจัดการเรียนรู้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอันเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาของโรงเรียน และผลจากการพัฒนาของผู้เรียนและครูก็ส่งผลต่อโรงเรียนให้ได้รับรางวัลต่าง ๆ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพราะโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพที่จัดทำขึ้นนั้น เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นครู กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่าของโรงเรียน และนักเรียน ทั้งนี้ โรงเรียนได้รับคำชมเชยจากการมาตรวจเยี่ยมหรือการนิเทศจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จากผู้ปกครองนักเรียน และจากหน่วยงาน/บุคคลภายนอกที่มาเยี่ยมโรงเรียน อยู่เสมอ
6. รูปแบบการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ
รูปแบบการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ของโรงเรียนวัดอมรินทราราม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ 2) กระบวนการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ 3) ตัวชี้วัดห้องเรียนมาตรฐาน และ 4) บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ชื่อผู้วิจัย นางภารดี ผางสง่า
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรินทราราม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพของห้องเรียน 2) เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินการพัฒนาห้องเรียน 3) เพื่อศึกษาความคาดหวังต่อการพัฒนาห้องเรียน 4) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาห้องเรียน 5) เพื่อปฏิบัติการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ และ 6) เพื่อศึกษาผลการดำเนินการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ โดยใช้หลักการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการศึกษาสภาพ ปัญหา ความคาดหวัง และแนวทางในการพัฒนาห้องเรียน ส่วนระยะการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggart โดยใช้วงจรการวิจัย PAOR จำนวน 2 วงรอบ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ได้ใช้แบบสอบถาม การศึกษาเอกสาร (Document Study) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการใช้เทคนิค SWOT กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยประกอบด้วยประกอบด้วยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ศิษย์เก่าของโรงเรียน และนักเรียน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ทั้งนี้ ในการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,319 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 44 คน
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. สภาพห้องเรียนก่อนดำเนินการพัฒนา โรงเรียนวัดอมรินทรารามมีสภาพห้องเรียนก่อนดำเนินการพัฒนาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสภาพการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านบรรยากาศห้องเรียน รองลงมา ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยสภาพการพัฒนาต่ำที่สุด คือ การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
2. ปัญหาการดำเนินงานพัฒนาห้องเรียน โรงเรียนวัดอมรินทราราม มีปัญหาการดำเนินการพัฒนาห้องเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยปัญหาการดำเนินการพัฒนาสูงที่สุด คือ ขั้นการตรวจสอบ รองลงมา ขั้นการวางแผน และขั้นการดำเนินการ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยปัญหาการดำเนินการพัฒนาต่ำที่สุด คือ ขั้นการสะท้อนผล
3. ความคาดหวังต่อการพัฒนาห้องเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและศิษย์เก่าของโรงเรียน มีความคาดหวังต่อการพัฒนาห้องเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยความคาดหวังสูงที่สุด คือ ด้านบรรยากาศห้องเรียน รองลงมา คือ การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และด้านส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยความคาดหวังต่ำที่สุด คือ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
4. แนวทางในการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ
สร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาห้องเรียน กำหนดบทบาท/หน้าที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน กำหนดแนวทางและเป้าหมายของการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ 4 ด้าน คือ ด้านบรรยากาศห้องเรียน ด้านส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5. ผลการดำเนินการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ
จากผลการดำเนินรูปแบบการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ของโรงเรียนวัดอมรินทราราม โดยภาพรวมพบว่า ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจต่อการเปลี่ยนแปลงของห้องเรียนที่ได้รับการพัฒนา โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในห้องเรียน ให้มีความสะอาดและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านรูปธรรมอย่างเห็นได้ชัดเจน ห้องเรียนมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ส่งผลให้นักเรียนเกิดการพัฒนาตนเองเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คณะครูได้พัฒนาตนเองในการใช้สื่อ ICT ในการจัดการเรียนรู้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอันเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาของโรงเรียน และผลจากการพัฒนาของผู้เรียนและครูก็ส่งผลต่อโรงเรียนให้ได้รับรางวัลต่าง ๆ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพราะโครงการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพที่จัดทำขึ้นนั้น เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นครู กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่าของโรงเรียน และนักเรียน ทั้งนี้ โรงเรียนได้รับคำชมเชยจากการมาตรวจเยี่ยมหรือการนิเทศจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จากผู้ปกครองนักเรียน และจากหน่วยงาน/บุคคลภายนอกที่มาเยี่ยมโรงเรียน อยู่เสมอ
6. รูปแบบการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ
รูปแบบการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ ของโรงเรียนวัดอมรินทราราม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ 2) กระบวนการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ 3) ตัวชี้วัดห้องเรียนมาตรฐาน และ 4) บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments