รายงานการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนนวัตกรรมเข็มศาสตร์นุสรณ์

โดย: ปรัชญา สุราสา [IP: 110.171.73.xxx]
เมื่อ: 2023-08-30 14:17:58
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนนวัตกรรมเข็มศาสตร์นุสรณ์ 2. สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนนวัตกรรมเข็มศาสตร์นุสรณ์ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนนวัตกรรมเข็มศาสตร์นุสรณ์ 4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนนวัตกรรมเข็มศาสตร์นุสรณ์ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 5 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญการประเมินคุณภาพร่างรูปแบบ จำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพรูปแบบ แบบบันทึกการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู จำนวน 30 คน นักเรียน จำนวน 205 คน กรรมการประเมินสมรรถนะ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบสอบถามเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้ให้ข้อมูล ครู จำนวน 30 คน กรรมการประเมินสมรรถนะ จำนวน 5 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ แบบประเมินชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนนวัตกรรมเข็มศาสตร์นุสรณ์ พบว่าครูประสบปัญหาการจัด การเรียนรู้ที่ขาดความรู้ชัดเจนในเนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในขณะที่การพัฒนาครูรูปแบบ เดิมไม่ตอบสนองปัญหาและความต้องการพัฒนา การนำรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาครู เพื่อร่วมมือกันเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสอนของครูมาเป็นเน้นการเรียนรู้ของนักเรียน เน้นการเรียนร่วมกันเป็นกลุ่ม เน้นความร่วมมือหรือช่วยเหลือกัน ครูเปลี่ยนจากการบอกเนื้อหาสาระมาทำหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจ ความท้าทาย และความสนุกในการเรียนตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ส่งผลให้นักเรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีกว่า

2. รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนนวัตกรรมเข็มศาสตร์นุสรณ์ใช้ชื่อว่า FIVE T model ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) แนวคิดทฤษฎี 3) วัตถุประสงค์ 4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม มี 5 ขั้น ได้แก่ สอบ (Test = T1 ) ฝึก (Train = T2) คิด (Think = T3) สอน (Teach = T4) และพูด (Talk = T5) 5) สาระการเรียนรู้ มี 5 ประการ ได้แก่ 4 ประการ ได้แก่ 1) การสร้างหรือพัฒนาหลักสูตร 2) การจัด ทำแผนการจัดการเรียนรู้ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ผลการประเมินรูปแบบพบว่าโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัด การเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนนวัตกรรมเข็มศาสตร์นุสรณ์พบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.93 ของคะแนนเต็ม 2) ทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมเท่ากับ 4.36 และครูที่มีค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ รวมทั้งสิ้น 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100 3) เจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด และ 5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2565 ค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 65.12 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.03

4. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนนวัตกรรมเข็มศาสตร์นุสรณ์ พบว่า 1) การประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ผลการประเมินชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,143,166