การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์

โดย: วิลาสินี ชุณหะชา [IP: 184.22.20.xxx]
เมื่อ: 2023-03-25 21:02:08
ผู้วิจัย วิลาสินี ชุณหะชา

ปีการศึกษา 2565

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ เป็นลักษณะการวิจัยและพัฒนา (research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ 2) สร้างและหาคุณภาพเบื้องต้นของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ กลุ่มตัวอย่างสำหรับศึกษาข้อมูลที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ จำนวน 12 คน ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการ 4 คน กลุ่มตัวอย่างสำหรับศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 โรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 คน และนักเรียนที่เรียนกับครูผู้ร่วมโครงการวิจัย จำนวน 76 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของครู แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถของครู แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้และทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ประเด็นสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความคิดเห็นนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X-bar) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยปรากฏผล ดังนี้

1. การศึกษาข้อมูลที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ พบว่า การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนขึ้นอยู่กับการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งปัจจัยสำคัญคือ ครูผู้สอนที่ต้องรู้แนวทาง การขับเคลื่อนกระบวนการคิดแก้ปัญหาเข้าสู่ห้องเรียน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องพัฒนาหลักสูตรที่ส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่ชัดเจน เพื่อบูรณาการเข้าในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ และมีการนำระบบนิเทศภายในเข้ามาช่วยในการพัฒนาทักษะอาชีพครู ดังนั้น จึงควรนำหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมเข้ามาใช้ในรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมกันรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการ

2. การสร้างและหาคุณภาพเบื้องต้นของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ องค์ประกอบเชิงโครงสร้าง ได้แก่ หลักการ และวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ได้แก่ กระบวนการ PPDE Model แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะการเตรียมการ (Preparing phase = P) ระยะที่ 2 ระยะการวางแผน (Planning phase = P) ระยะที่ 3 ระยะการปฏิบัติงาน (Doing phase = D) และระยะที่ 4 ระยะการประเมินผล (Evaluating phase = E) และองค์ประกอบเชิงปัจจัยสนับสนุนที่จะช่วยให้การนำรูปแบบไปใช้ บรรลุผลตามเป้าประสงค์หลัก (goal) ของรูปแบบ และรูปแบบมีประสิทธิภาพ ด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ด้านความเป็นไปได้ และด้านความสอดคล้องของรูปแบบ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ พบว่า

3.1 ความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.2 ความสามารถของครูในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับสูง

3.3 ความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3.4 ผลการเรียนรู้และทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์โดยครูที่ใช้รูปแบบ มีคะแนนหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

4. การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ พบว่า

4.1 ความคิดเห็นของครู สรุปได้ว่า องค์ประกอบมีความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีผู้วิจัยทำหน้าที่ดูแลให้คำปรึกษา แนะนำในการใช้รูปแบบ และมีการนิเทศติดตามเป็นระยะ ๆ ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ครูมีการเลือกวิธีการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันบ้าง ตามความเหมาะสมต่อวัยและระดับชั้นของนักเรียน การนำรูปแบบไปใช้ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และเครื่องมือที่ใช้ส่งผลต่อการพัฒนา การนำกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมมาใช้ในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนางานของกลุ่มครู เนื่องจากครูเกิดการร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจกันคิด ร่วมกันวางแผนการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมเป็นประโยชน์ เปิดใจยอมรับซึ่งกันและกันในการช่วยกันแก้ไขปัญหา ด้านประเด็นที่เกี่ยวกับข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขของรูปแบบ คือ เรื่องเวลาการร่วมสังเกตการสอนของครูที่ได้รับมอบหมาย ควรตรวจสอบตารางสอนและจัดทำปฏิทินตารางเวลาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเวลาในการปฏิบัติงานของครูแต่ละคน

4.2 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูที่ใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสดิ์ ในภาพรวม มีความคิดเห็นด้วยในระดับมาก


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,772