การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

โดย: ซูไวบ๊ะ อาซัน [IP: 223.204.221.xxx]
เมื่อ: 2023-03-23 01:07:51
บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา

ทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย นางซูไวบ๊ะ อาซัน

ปีการศึกษา 2563





การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองนราธิวาส จำนวน 24 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ (%) ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทฤษฎี/ หลักการ 2) จุดประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 4) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรม 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 กำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียน (S : State learning) ขั้นที่ 2 นำเข้าสู่บทเรียน (W : Warm up) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติกิจกรรม (A : Activity) ขั้นที่ 4 แนะนำ (I : Introduce) ขั้นที่ 5 ย้อนกลับ (B : Backward) ขั้นที่ 6 ประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)ขั้นที่ 7 ช่วยเหลือ (H : Help)การประเมินผลของรูปแบบการเรียนการสอน มีความสอดคล้องของรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้

2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปรากฎผลดังนี้

2.1 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ("X" ̅ = 34.38, S.D. = 2.81) สูงกว่าก่อนเรียน ("X" ̅ = 27.88, S.D. = 3.07) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.2 ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (SWAIBAH MODEL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มากกว่าร้อยละ 80 ทุกระยะ


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,857