การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด
โดย:
เสกศักดิ์ การวินพฤติ
[IP: 223.204.217.xxx]
เมื่อ: 2023-03-19 12:59:39
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด
ชื่อผู้วิจัย เสกศักดิ์ การวินพฤติ
ปีที่ศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมี
ส่วนร่วมโรงเรียนเทศบาลตะโหมด 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมดกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเทศบาลตะโหมด สังกัดเทศบาลตำบลตะโหมด จำนวน 23 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนเทศบาลตะโหมด สังกัดเทศบาลตำบลตะโหมด จำนวน 370 คน ในปีการศึกษา 2564 ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ("X" ̅)
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเทศบาลตะโหมดพบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเทศบาลตะโหมดโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.31
2. รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 หลักการ ส่วนที่ 3 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก คือ SEKSAK MODEL ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 เริ่มสร้างโลกทัศน์ (Start to create a worldview) องค์ประกอบที่ 2 การศึกษาร่วมกัน (Education together) องค์ประกอบที่ 3 ความรู้พลังบวก (Knowledge of positive energy) องค์ประกอบที่ 4 การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared working)องค์ประกอบที่ 5 การทำงานร่วมกัน (Altogether working) องค์ประกอบที่ 6 รู้ถึงผลสำเร็จ (Know success) ส่วนที่ 4 แนวทางในการประเมินผล และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ โดยมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกประการตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
3. การนำรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมดไปทดลองใช้พบว่าผลการประเมินสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระหว่างใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด โดยรวมทั้งสองด้านอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินคุณลักษณะของครูที่เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ระหว่างใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จากการประเมิน 5 ครั้ง พบว่าในแต่ละครั้งครูผู้เข้าร่วมการใช้รูปแบบมีผลการประเมินพฤติกรรมของครูแต่ละครั้งเพิ่มขึ้นตามลำดับ และร้อยละของนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับดี (3) ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 84.36 ซึ่งมากกว่าโรงเรียนได้กำหนดไว้คือร้อยละ 80
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมดพบว่าความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ชื่อผู้วิจัย เสกศักดิ์ การวินพฤติ
ปีที่ศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมี
ส่วนร่วมโรงเรียนเทศบาลตะโหมด 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมดกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเทศบาลตะโหมด สังกัดเทศบาลตำบลตะโหมด จำนวน 23 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนเทศบาลตะโหมด สังกัดเทศบาลตำบลตะโหมด จำนวน 370 คน ในปีการศึกษา 2564 ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ("X" ̅)
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเทศบาลตะโหมดพบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเทศบาลตะโหมดโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.31
2. รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 หลักการ ส่วนที่ 3 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก คือ SEKSAK MODEL ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 เริ่มสร้างโลกทัศน์ (Start to create a worldview) องค์ประกอบที่ 2 การศึกษาร่วมกัน (Education together) องค์ประกอบที่ 3 ความรู้พลังบวก (Knowledge of positive energy) องค์ประกอบที่ 4 การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared working)องค์ประกอบที่ 5 การทำงานร่วมกัน (Altogether working) องค์ประกอบที่ 6 รู้ถึงผลสำเร็จ (Know success) ส่วนที่ 4 แนวทางในการประเมินผล และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ โดยมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกประการตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
3. การนำรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมดไปทดลองใช้พบว่าผลการประเมินสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระหว่างใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด โดยรวมทั้งสองด้านอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินคุณลักษณะของครูที่เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ระหว่างใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จากการประเมิน 5 ครั้ง พบว่าในแต่ละครั้งครูผู้เข้าร่วมการใช้รูปแบบมีผลการประเมินพฤติกรรมของครูแต่ละครั้งเพิ่มขึ้นตามลำดับ และร้อยละของนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับดี (3) ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 84.36 ซึ่งมากกว่าโรงเรียนได้กำหนดไว้คือร้อยละ 80
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมดพบว่าความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments