รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

โดย: นายเกียรติภูมิ มะแสงสม [IP: 124.122.29.xxx]
เมื่อ: 2022-10-31 01:29:01
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

ผู้ประเมิน นายเกียรติภูมิ มะแสงสม

ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

ปีการศึกษา 2564







บทสรุปสำหรับผู้บริหาร





รายงานผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วยประเด็นการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตและเพื่อประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกรายด้าน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการคัดกรอง ด้านการส่งเสริมและพัฒนา ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อ และด้านการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วยประเด็นการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต

ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 177 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 2,123 คน รวมทั้งสิ้น 2,315 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 125 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 324 คน รวมทั้งสิ้น 463 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเลขสุ่มของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970) และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

ประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกรายด้าน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการคัดกรอง ด้านการส่งเสริมและพัฒนา ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อ และด้านการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน จำนวน 324 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเลขสุ่มของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970) และเลือกกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ร่วมกับวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งตามระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 6 ระดับชั้น ๆ ละ 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถามความคิดเห็น (Questionnaire) จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถาม เรื่อง การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสกลนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 (สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน คณะผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ สถานภาพ เพศ อายุ อาชีพและระดับการศึกษา ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) แบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert Rating Scale) ฉบับที่ 2 แบบสอบถาม เรื่อง การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสกลนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 (สำหรับนักเรียน) มี 2 ตอน ดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ อายุ และระดับชั้น ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมและพัฒนา ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อ ด้านการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert Rating Scale)

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่(Frequency Distributions) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต(Arithmetic Mean: ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation : S.D.) โปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์สถิติ คือ โปรแกรม Excel ผู้ประเมิน

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น โดยการกำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างแบบสอบถาม จากเนื้อหา ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 ฉบับ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ อยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้

การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าแจกแจงความถี่ (Frequency Distributions) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean : ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)









ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้





การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 สรุปผลการประเมินได้ดังนี้ การวิเคราะห์การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการ กล่าวคือ เกณฑ์ในการประเมินโครงการ ผู้ประเมินกำหนดเกณฑ์การประเมินโครงการโดยแต่ละด้านจะต้องผ่านเกณฑ์ประเมิน อยู่ในระดับมากและผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 อยู่ในระดับมากที่สุด

การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ ตามความคิดเห็น ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านบริบทของโครงการ ด้านปัจจัยของโครงการ ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

ด้านบริบท มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปผลการประเมินด้านบริบทของโครงการเป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า การมีส่วนร่วม ของโรงเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองและชุมชนมีความจำเป็นในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความสำคัญและความจำเป็น อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริหารโรงเรียนเห็นความสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครองนักเรียนมีความต้องการ ให้โรงเรียนดำเนินการตามโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด โครงการเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ในสภาพสังคมปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีความต้องการโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด การดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบมีความสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

ด้านปัจจัย มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการเป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า โรงเรียนมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด วัสดุ – ครุภัณฑ์ที่ใช้ในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ครูประจำชั้นหรือหัวหน้าระดับชั้นได้นำเอาผลการจัดทำสารสนเทศมาแก้ไข ส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด โรงเรียนมีโครงการอื่นเพื่อส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด โรงเรียนมีโครงการอื่นเพื่อส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหานักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด สถานที่เก็บเอกสารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โรงเรียนได้สนับสนุนให้ครู ผู้ปกครอง องค์กรที่เกี่ยวข้อง และชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด คณะกรรมการอำนวยการ (ทีมนำ) มีการกำหนดแผนหรือปฏิทินปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นจัดทำระบบสารสนเทศนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด การรายงานข้อมูลต่าง ๆ ของครูที่ปรึกษาเป็นไปอย่างเป็นระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริหารมีการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมากคณะกรรมการมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก โรงเรียนให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแก่คณะกรรมการทีมต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก โรงเรียนได้สนับสนุนยานพาหนะ หรืองบประมาณในการไปเยี่ยมบ้านนักเรียนของครู ทีปรึกษา อยู่ในระดับมาก ผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการดูแลบุตรหลานของตน อยู่ในระดับมาก โรงเรียนมีเอกสารและแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนครบถ้วน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

ด้านกระบวนการ มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการเป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า การนำผลการประเมินมาทบทวนหรือปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ครูประจำชั้นทำการคัดกรองนักเรียนได้เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ครูประจำชั้นมีการส่งต่อ นักเรียนที่เกินความสามารถของครูไปยังหน่วยงานอื่นทั้งภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด การประเมินมาตรฐานคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ครูประจำชั้นได้ส่งเสริมนักเรียนปกติและนักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีปัญหามากน้อยเพียงใด อยู่ในระดับมากที่สุด แผนหรือปฏิทินปฏิบัติงานของแต่ละทีมในภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ครูประจำชั้นและหัวหน้าสายชั้นได้วางแผนร่วมกันในการดำเนินงานเพื่อดูแลและช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครอง องค์กรอื่น ๆ หรือชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ อยู่ในระดับมาก ครูประจำชั้นได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน อยู่ในระดับมาก คณะกรรมการประสานงาน (ทีมประสานงาน) มีการกำหนดแผน หรือปฏิทินปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก คณะกรรมการทีมดำเนินงาน (ทีมทำ) มีการกำหนดแผน หรือปฏิทินปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนเป็นรายบุคคล อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

ด้านผลผลิต มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลให้นักเรียนได้รับการป้องกันและแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลให้สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี อยู่ในระดับมากที่สุด ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลให้นักเรียนรู้จักตนเองและควบคุมตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกตามสภาพ ของตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการ ความฉลาดทางอารมณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนของท่าน มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ

การประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 แต่ละด้าน ตามโครงการ ดังนี้ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อ และด้านการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการคัดกรองนักเรียน มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปผลการประเมินด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการคัดกรองนักเรียน เป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองตามแบบประเมิน SDQ และประเมินความฉลาดทางอารมณ์ EQ อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีความต้องการโครงการนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพจากครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้นหรือโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียน อยู่ในระดับมาก ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นได้ไปเยี่ยมบ้านนักเรียน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปผลการประเมินด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน เป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย พบว่า นักเรียนได้รับทราบการรายงานผลด้านการเรียนจากครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้น อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนได้รับความช่วยเหลือด้านการหารายได้ระหว่างเรียนจากครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนได้รับคำแนะนำจากครูที่ปรึกษา ครูประจำชั้น โรงเรียนในด้านการป้องกันตนเองให้พ้นภัยจากบุคคลและสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนได้ร่วมปฏิบัติกิจกรรมโฮมรูม อยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมโฮมรูมเกิดประโยชน์กับนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครองนักเรียนได้ร่วมประชุมกับครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้น อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนได้รับการสนับสนุนจากครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นให้เล่นดนตรี กีฬา หรือเข้ากลุ่มนักเรียนถนัดหรือสนใจ อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนได้รับคำแนะนำด้านการเรียนจากครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้น อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ

ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับ มากที่สุด สรุปผลการประเมินด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา เป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย พบว่า นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรเช่น กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลูกเสือ กิจกรรม ยุวกาชาด อยู่ในระดับมากที่สุด ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาด้านเศรษฐกิจกับนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาด้านความประพฤติ อยู่ในระดับมากที่สุด ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาด้านการเรียนกับนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นมีการสื่อสารทางจดหมายหรือโทรศัพท์ติดต่อกับผู้ปกครองเพื่อช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโทษ ของสารเสพติด อยู่ในระดับมากที่สุด ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาด้านการคบเพื่อนต่างเพศ อยู่ในระดับมากที่สุด ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นหรือโรงเรียน จัดกิจกรรมซ่อมเสริมให้นักเรียน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

ด้านการส่งต่อ มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปผลการประเมิน ด้านการส่งต่อ เป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นได้ส่งต่อนักเรียนที่แก้ปัญหาไม่ได้ไปยังครูคนอื่น ครูแนะแนวหรือครูปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นมีการประสานงานเพื่อติดตามครูที่รับช่วงเพื่อดูแลแก้ไขนักเรียนที่ถูกส่งต่อ อยู่ในระดับมากที่สุด ครูฝ่ายปกครอง/ครูแนะแนว ได้ส่งต่อนักเรียนที่แก้ปัญหาไม่ได้ไปยังฝ่ายบริหาร อยู่ในระดับมากที่สุด ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้น มีการบันทึกข้อมูล/รายละเอียดของนักเรียนที่มีปัญหา ประกอบการส่งต่อ อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ

ด้านการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปผลการประเมินด้านการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นรายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า นักเรียนเห็นว่าโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นประโยชน์แก่นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้นักเรียนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข อยู่ในระดับมากที่สุด ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้นักเรียนรู้จักตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้นักเรียนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง อยู่ในระดับมากที่สุด ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้นักเรียนรู้จักผู้อื่น อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนเห็นว่าควรจะดำเนินโครงการนี้ต่อไป อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีความพึงพอใจต่อระบบการดูแลนักเรียนของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ










ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,837