การประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

โดย: สงวนศักดิ์ ปัญใจแก้ว [IP: 223.204.82.xxx]
เมื่อ: 2022-10-14 20:37:09
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

นายสงวนศักดิ์ ปัญใจแก้ว

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

บทสรุปผู้บริหาร

การประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน เป็นการประเมินโครงการตามแผนปฏิบัติกรประจำปีของโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ได้แก่

1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินได้แก่แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นในแต่ละด้าน เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการ

วิเคราห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage distribution) การวิเคราะห์ระดับ

ความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D. ) ซึ่งแบ่งการประเมินเป็น 4 ด้าน โดยผู้ประเมินได้ประยุกต์ใช้การประเมินตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบิ้ม (Daniel L. Stufflebeam) ดังนี้

1. การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

3. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

4.1 การประเมินความความสอดคล้องและเหมาะสมของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษากับสภาพบริบทของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

4.2 การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพศึกษาของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน



การประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน

สรุปผลได้ดังนี้

1.ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม

อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (x ̅= 4.77) โดยลำดับสูงสุดคือ ความสอดคล้องของโครงการ (x ̅= 4.80) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความจำเป็นของโครงการ และ ความเหมาะสมของโครงการ (x ̅= 4.75) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน

2. ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.61) โดยลำดับสูงสุดคือ การบริหารจัดการ (x ̅= 4.80) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ บุคลากร (x ̅= 4.63) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และวัสดุอุปกรณ์ (x ̅= 4.55) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับที่ต่ำสุดคือ งบประมาณ (x ̅= 4.47) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.79) โดยลำดับสูงสุดคือ การขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ โดยกระบวนการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพด้วยวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Plan Do Check Action) (x ̅= 4.89) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก่ผู้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง การมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ และการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศของกิจกรรมในโครงการ (x ̅= 4.84) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับที่ต่ำสุดคือ การดำเนินงานโครงการสำเร็จตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด (x ̅= 4.68) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ตอนได้แก่

4.1 ผลการประเมินความความสอดคล้องและเหมาะสมของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษากับสภาพบริบทของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.84) โดยลำดับสูงสุดคือ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (x ̅= 4.91) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (x ̅= 4.85) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมาได้แก่การกำหนดรูปแบบและคู่มือเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (x ̅= 4.84) ส่วนลำดับที่ต่ำสุดคือ การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา (x ̅= 4.79) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

4.2 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.85) โดยลำดับสูงสุดคือ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

(x ̅= 4.89) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ มาตรฐานที่ 5 การมีส่วนร่วมของทีมองค์กรและเครือข่ายการศึกษา (x ̅= 4.87) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมาได้แก่มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (x ̅= 4.85) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน ส่วนลำดับที่ต่ำสุดคือ มาตรฐานที่ 4 การจัดและพัฒนาสภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ (x ̅= 4.82) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผลจากการประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ประยุกต์ใช้การประเมินตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบิ้ม (Daniel L. Stufflebeam) ทั้ง 4 ด้าน ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน ดังนั้นการดำเนินโครงการนี้จึงบรรลุตามจุดมุ่งหมายของโครงการตามที่ตั้งไว้


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,215