การประเมินโครงการรักการอ่านในสถานศึกษา โรงเรียนดงยางวิทยาคม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
โดย:
นายประภาส สีหา
[IP: 171.97.73.xxx]
เมื่อ: 2022-09-16 06:55:53
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการรักการอ่านในสถานศึกษา โรงเรียนดงยางวิทยาคม
อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อผู้วิจัย นายประภาส สีหา ผู้อำนวยการโรงเรียนดงยางวิทยาคม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาโรงเรียนดงยางวิทยาคม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) ประเมินด้านกระบวนการ และ 4) ประเมินด้านผลผลิต ของโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาโรงเรียนดงยางวิทยาคม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ทำการศึกษาจากประชากรทั้งหมดได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนดงยางวิทยาคม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 สอบถามเพื่อประเมินโครงการจากผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ฉบับที่ 2 สอบถามเพื่อประเมินโครงการจากนักเรียน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งก่อนดำเนินโครงการระหว่างดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของประชากร () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
ผลการประเมินโครงการพบว่า
ผลการประเมินโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาโรงเรียนดงยางวิทยาคม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 1) ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมพฤติกรรมรักการอ่านดำเนินการตามนโยบายและแผนพัฒนาสถานศึกษา ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนสนใจการอ่านอย่างสม่ำเสมอ 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการรักการอ่านในสถานศึกษามีการวางแผนนโยบายการดำเนินการไว้ชัดเจน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โครงการรักการอ่านในสถานศึกษามีบุคลากรที่รับผิดชอบมีความเหมาะสมและเพียงพอ 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาให้บุคลากรครูทุกคน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนมีการประชุมชี้แจงครูเกี่ยวกับโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ ส่วนผลการประเมินโครงการของนักเรียน ด้านกระบวนการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้รับผิดชอบโครงการประสานงานกับครูและนักเรียนในการจัดโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การดำเนินโครงการมีสถานที่ ที่เหมาะสมและสื่อ อุปกรณ์ที่เพียงพอ และความคิดเห็นของการมีส่วนร่วมต่อการจัดกิจกรรมโครงการของนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ กิจกรรมยอดนักอ่าน 4) ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิตของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนใช้เวลาว่างในกิจกรรมการอ่านมากยิ่งขึ้น และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการขยายผลโครงการไปยังแหล่งเรียนรู้ที่ใกล้เคียงในชุมชน ท้องถิ่น ส่วนผลการประเมินโครงการของนักเรียน ด้านผลผลิตโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนเข้าใช้ห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้นักเรียนมีพฤติกรรมการอ่านในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิธีการอ่าน รองลงมาคือ ด้านวิธีการได้มาของสื่อการอ่าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านเวลา
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, การอ่าน
อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อผู้วิจัย นายประภาส สีหา ผู้อำนวยการโรงเรียนดงยางวิทยาคม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาโรงเรียนดงยางวิทยาคม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) ประเมินด้านกระบวนการ และ 4) ประเมินด้านผลผลิต ของโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาโรงเรียนดงยางวิทยาคม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ทำการศึกษาจากประชากรทั้งหมดได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนดงยางวิทยาคม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 สอบถามเพื่อประเมินโครงการจากผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ฉบับที่ 2 สอบถามเพื่อประเมินโครงการจากนักเรียน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งก่อนดำเนินโครงการระหว่างดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของประชากร () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
ผลการประเมินโครงการพบว่า
ผลการประเมินโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาโรงเรียนดงยางวิทยาคม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 1) ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมพฤติกรรมรักการอ่านดำเนินการตามนโยบายและแผนพัฒนาสถานศึกษา ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนสนใจการอ่านอย่างสม่ำเสมอ 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการรักการอ่านในสถานศึกษามีการวางแผนนโยบายการดำเนินการไว้ชัดเจน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โครงการรักการอ่านในสถานศึกษามีบุคลากรที่รับผิดชอบมีความเหมาะสมและเพียงพอ 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาให้บุคลากรครูทุกคน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนมีการประชุมชี้แจงครูเกี่ยวกับโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ ส่วนผลการประเมินโครงการของนักเรียน ด้านกระบวนการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้รับผิดชอบโครงการประสานงานกับครูและนักเรียนในการจัดโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การดำเนินโครงการมีสถานที่ ที่เหมาะสมและสื่อ อุปกรณ์ที่เพียงพอ และความคิดเห็นของการมีส่วนร่วมต่อการจัดกิจกรรมโครงการของนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ กิจกรรมยอดนักอ่าน 4) ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิตของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนใช้เวลาว่างในกิจกรรมการอ่านมากยิ่งขึ้น และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการขยายผลโครงการไปยังแหล่งเรียนรู้ที่ใกล้เคียงในชุมชน ท้องถิ่น ส่วนผลการประเมินโครงการของนักเรียน ด้านผลผลิตโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนเข้าใช้ห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้นักเรียนมีพฤติกรรมการอ่านในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิธีการอ่าน รองลงมาคือ ด้านวิธีการได้มาของสื่อการอ่าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านเวลา
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, การอ่าน
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments