การประเมินโครงการศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ
โดย:
พิตะวัน
[IP: 1.2.165.xxx]
เมื่อ: 2022-09-06 12:32:15
การประเมินโครงการศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการประเมินโครงการศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ จำแนกประเด็นการประเมินใน 4 ด้าน
ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
ผู้ให้ข้อมูลในครั้งนี้ คือ ครู บุคลากร นักเรียนโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ
รวมจำนวน 81 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนดำเนินโครงการ
ขณะดำเนินโครงการและหลังสิ้นสุดโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสำรวจรายการ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ
พบว่า 1) ผลการประเมินด้านบริบท พบว่าความต้องการและความจำเป็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ตรงกับความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักการ ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสภาพปัญหาของโรงเรียน
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการมีความสอดคล้องกัน2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความเพียงพอด้านบุคลากร
ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ การดำเนินงานตามโครงการโดยรวมรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีความเพียงพออยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่ากระบวนการดำเนินงานตามโครงการ
มีกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ 3.1) กิจกรรมเรียนรู้การปลูกแตงโมของชุมชนแหลมพระธาตุ โดยมีกิจกรรมย่อย
ได้แก่ กิจกรรมเรียนรู้การปลูกแตงโมจากปราชญ์ท้องถิ่น ณ แปลงเกษตรโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ และกิจกรรมเรียนรู้สวนแตงโมของชุมชน
3.2) กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแตงโม และ 3.3) กิจกรรมพัฒนาโครงงานจากการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้
ผลการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน มีผลการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1) ระดับประสิทธิผลการดำเนินตามโครงการศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ
ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการและสามารถพัฒนาโครงงานจากการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ตัดสินคุณค่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน 4.2) ผลการสำรวจแหล่งเรียนรู้ที่ศึกษาและพัฒนา
เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ตัดสินคุณค่า พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3) ผลการประเมินโครงการฯ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ระดับความพึงพอใจการดำเนินตามโครงการ
โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ตัดสินคุณค่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการประเมินโครงการศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ จำแนกประเด็นการประเมินใน 4 ด้าน
ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
ผู้ให้ข้อมูลในครั้งนี้ คือ ครู บุคลากร นักเรียนโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ
รวมจำนวน 81 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนดำเนินโครงการ
ขณะดำเนินโครงการและหลังสิ้นสุดโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสำรวจรายการ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ
พบว่า 1) ผลการประเมินด้านบริบท พบว่าความต้องการและความจำเป็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณารายข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ตรงกับความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักการ ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสภาพปัญหาของโรงเรียน
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการมีความสอดคล้องกัน2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความเพียงพอด้านบุคลากร
ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ การดำเนินงานตามโครงการโดยรวมรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีความเพียงพออยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่ากระบวนการดำเนินงานตามโครงการ
มีกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ 3.1) กิจกรรมเรียนรู้การปลูกแตงโมของชุมชนแหลมพระธาตุ โดยมีกิจกรรมย่อย
ได้แก่ กิจกรรมเรียนรู้การปลูกแตงโมจากปราชญ์ท้องถิ่น ณ แปลงเกษตรโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ และกิจกรรมเรียนรู้สวนแตงโมของชุมชน
3.2) กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแตงโม และ 3.3) กิจกรรมพัฒนาโครงงานจากการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้
ผลการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน มีผลการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1) ระดับประสิทธิผลการดำเนินตามโครงการศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนวัดแหลมพระธาตุ
ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการและสามารถพัฒนาโครงงานจากการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ตัดสินคุณค่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน 4.2) ผลการสำรวจแหล่งเรียนรู้ที่ศึกษาและพัฒนา
เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ตัดสินคุณค่า พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3) ผลการประเมินโครงการฯ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ระดับความพึงพอใจการดำเนินตามโครงการ
โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ตัดสินคุณค่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments