การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL)
โดย:
สรัญญา หมีดเส็น
[IP: 223.204.222.xxx]
เมื่อ: 2022-08-30 07:26:45
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL) 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL) 2.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน2.2) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน
2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการเรียนของของนักเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL) กลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านสะเดา สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียนมีนักเรียน จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) โดยใช้วิธีการจับสลากใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยประยุกต์ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One-Group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ("X" ̅)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าที แบบไม่เป็นอิสระ (t – test for dependent) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่
1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอน 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 เริ่มต้น (S : Start) ขั้นที่ 2 กระตุ้นก่อนเรียน (A: Arouse)ขั้นที่ 3 ทบทวนความรู้เดิม (R : Review)ขั้นที่ 4 เข้าใจเนื้อหา (U: Understand) ขั้นที่ 5 สังเกตและจดจำ (N : Notice)ขั้นที่ 6 ผลที่ได้จากการเรียน (Y: Yield)ขั้นที่ 7 สรุปผลการเรียน (A : Abstract)4) การวัดและประเมินผลของรูปแบบการสอนและ 5) ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุนผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL)
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 กระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(SARUNYA MODEL) อยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.54, S.D. = 0.57)
2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการเรียนของของนักเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL) กลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านสะเดา สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียนมีนักเรียน จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) โดยใช้วิธีการจับสลากใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยประยุกต์ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One-Group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ("X" ̅)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าที แบบไม่เป็นอิสระ (t – test for dependent) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่
1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอน 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 เริ่มต้น (S : Start) ขั้นที่ 2 กระตุ้นก่อนเรียน (A: Arouse)ขั้นที่ 3 ทบทวนความรู้เดิม (R : Review)ขั้นที่ 4 เข้าใจเนื้อหา (U: Understand) ขั้นที่ 5 สังเกตและจดจำ (N : Notice)ขั้นที่ 6 ผลที่ได้จากการเรียน (Y: Yield)ขั้นที่ 7 สรุปผลการเรียน (A : Abstract)4) การวัดและประเมินผลของรูปแบบการสอนและ 5) ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุนผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL)
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 กระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (SARUNYA MODEL) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(SARUNYA MODEL) อยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.54, S.D. = 0.57)
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments