นาฏยา คงทอง

โดย: นาฏยา คงทอง [IP: 223.204.222.xxx]
เมื่อ: 2022-08-30 05:44:11
การวิจับครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยใช้ NATTAYA MODEL 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยใช้NATTAYA MODEL ในประเด็นทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสาร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3/2โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒ (บ้านดอนเกลี้ยง) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 1 ห้อง จำนวน 35 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย (x-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าที แบบไม่เป็นอิสระ (t – test for dependent) ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ NATTAYA MODEL มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ การสอนภาษาไทย 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอนภาษาไทย 3) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรม 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ความรู้ใหม่ (N : New knowledge) ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ (A : Analyze) ขั้นที่ 3 สอน (T : Teach) ขั้นที่ 4 ทีม (T : Team) ขั้นที่ 5 ปฏิบัติ (A : Act) ขั้นที่ 6 ผลจากการปฏิบัติ (Y : Yield) ขั้นที่ 7 สรุป (A : Abstract) 4) การประเมินผล ของรูปแบบการสอนภาษาไทย มีความสอดคล้องของรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้

2. ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ NATTAYA MODEL ปรากฎผลดังนี้

2.1 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (x-bar= 34.80, S.D. = 2.92) สูงกว่าก่อนเรียน (x-bar= 28.69, S.D. = 3.23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.2 ทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสารของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ NATTAYA MODEL มากกว่าร้อยละ 80 ทุกระยะและมีการพัฒนาขึ้นในแต่ละระยะ

2.3 นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ NATTAYA MODEL อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.52, S.D. = 0.58)


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,976