รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 โรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) สังกัดเทศบาลตำบลหัวดง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

โดย: นางรัชดาภรณ์ พรมจุ้ย [IP: 171.96.191.xxx]
เมื่อ: 2022-08-29 21:55:05
บทคัดย่อ



การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหาร

จัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังกูร) และมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหาร

จัดการศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังกูร) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาล

หัวดง(ป.ฟักอังกูร) 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา

ในสถานการณ์ โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังกูร) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบ

การพัฒนา ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ 1 การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในวิถีการเรียนรู้ใหม่ กลยุทธ์ 2 การพัฒนาศักยภาพครูให้พร้อมรับวิถีการเรียนรู้ใหม่ กลยุทธ์ 3 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในวิถีใหม่ และกลยุทธ์ 4 การเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายการจัดการศึกษา ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังกูร) สรุปได้ดังนี้ ผลการบริหารจัดการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการศึกษามีการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียนมีการปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่พลิกผัน มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีทรัพยากร อุปกรณ์ วัสดุ ครุภัณฑ์เพียงพอในการดำเนินงาน ครูมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและจัดการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่นตามสภาพการณ์และความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น นักเรียนได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในวิถีใหม่ ตามคุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษ

ที่ 21 มีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านการเรียน ด้านสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยจากโรคโควิด 19 มีการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน มีทรัพยากร ข้อมูลสารสนเทศที่สนับสนุนการจัดการศึกษาที่หลากหลาย มีการประชาสัมพันธ์การรับรู้ และประสานความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายจัดการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษา 2563 และมีค่าร้อยละของผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชาสูงกว่า

ค่าเป้าหมายของสถานศึกษา ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านตามเกณฑ์ อยู่ในระดับดี ถึงดีมาก ผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 4 ปีการศึกษา 2564 ด้านการกระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ผลประเมิน ระดับดีเยี่ยม และมีผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาอยู่ในระดับ มากที่สุด


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,299