การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อ

โดย: นายรมย์รวินท์ เชิดชู [IP: 118.174.219.xxx]
เมื่อ: 2022-08-29 20:49:04
บทคัดย่อ



การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวทาง ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อน และหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเองและจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3.2) เพื่อประเมินวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเองและจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบันความต้องการและแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัย ในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 84 คน และครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้ แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตอนที่ 3 ศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต ในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้ แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัย ในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 30 คน โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โดยใช้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเองและจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรียนรู้โดยใช้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเองและจิตสาธารณะ สถิติที่ใช้ ในการศึกษา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ (t-test Dependent)



ผลการวิจัยและพัฒนาพบว่า



1. ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน และความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบร่างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้ แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้มาจากการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แนวคิด ทฤษฎี หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และจากการสอบถามนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 เกี่ยวกับ สภาพปัจจุบันของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.48 ) ส่วนความต้องการในการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) และผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการและแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ครูสังคมศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และสอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาในศตวรรษ ที่ 21 เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้จะเน้นให้นักเรียน มีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ได้ลงมือปฏิบัติและสรุปความรู้ด้วยตนเอง โดยให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสนใจ กระตือรือร้นและมีความสุขในการเรียน จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหา และจากการสังเคราะห์รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนสังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเองและจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่ม เพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันที่มีความสำคัญต่อผู้เรียนมุ่งพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง สร้างองค์ความรู้ โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยการแก้ปัญหา โดยน้อมนำแนวคิดศาสตร์พระราชามาใช้ในขั้นตอนกำหนดปัญหา ร่วมกับการใช้ชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเองและจิตสาธารณะของนักเรียน แนวทางหรือรูปแบบในการจัดการเรียนรู้ เริ่มจากขั้นที่ 1 กำหนดปัญหานำเสนอสถานการณ์ตัวอย่างศาสตร์พระราชา กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและมองเห็นปัญหาสามารถกำหนดสิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้เรียนอยากรู้ อยากเรียนเกิดความสนใจที่จะค้นหาคำตอบ ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจกับปัญหา ขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ผู้เรียน จะดำเนินการศึกษาค้นคว้าด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอภิปัญญาอย่างเป็นระบบร่วมกันโดยมีการกำหนดกติกาวางเป้าหมายและดำเนินกิจกรรมตามระยะเวลาที่กำหนด ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้ ผู้เรียนแต่ละคนสังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าโดยมีการนำเสนอกันภายในกลุ่ม ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินค่าหาคำตอบผู้เรียนแต่ละกลุ่ม สรุปผลงานของกลุ่มตนเอง และประเมินผลงานว่าข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้ามีความเหมาะสม หรือไม่เพียงใด ขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงานการอภิปรายในชั้นเรียน และสุดท้ายเป็นการนำความรู้ จากการเรียนรู้ในประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

2. ผลการพัฒนาและหาคุณภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัย ในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.15) และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิด ศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่นำไปใช้จริง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.55/88.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด

3. ผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้

3.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้ แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเองและจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก อำเภอสิรินธร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี มีคะแนน ก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 23.67 คะแนน และมีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ย เท่ากับ 35.50 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.2 ผลประเมินการวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้ แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในการทำกิจกรรมกลุ่มการเรียนทั้ง 8 แผนการจัดเรียนรู้โดยภาพรวมเฉลี่ย 93.19 โดยนักเรียนมีวินัยในตนเองคิดเป็นร้อยละ 91.66 และมีจิตสาธารณะคิดเป็นร้อยละ 94.72 แสดงให้เห็นว่า ผลการประเมินการวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้ แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเองและจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นผู้เรียนลงมือปฏิบัติงาน เป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน ได้ช่วยเหลือกันในการเรียนไปพร้อมกันและ แสดงว่านักเรียนมีความรับผิดชอบ มีความอดทนในการเรียน ความซื่อสัตย์ ความตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ส่วนด้านจิตสาธารณะ นักเรียนในกลุ่มอาสาเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในการทำกิจกรรม มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ กับเพื่อน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และมีความเสียสละ เป็นเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะหรือทีม ทำให้สามารถปรับตัวอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ทุกคนในกลุ่มต้องมีจิตสาธารณะ อาสาช่วยเหลือเพื่อในกลุ่มให้ประสบผลสำเร็จ และต้องมีวินัยในตนเองมุ่งมั่นในการทำงานอีกด้วย

4. ผลศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัยในตนเองและจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา ร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมวินัย ในตนเอง และจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.52 โดยมีคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก เรียงตามลำดับดังนี้ ลำดับที่ 1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูจัดทำขึ้นทำให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง หาคำตอบได้ด้วยตนเองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 ลำดับที่ 2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูจัดขึ้นทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกชั่วโมงที่นักเรียนเรียนช่วยส่งเสริมวินัยในตนเอง และจิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 และลำดับที่ 3 แนวคิดศาสตร์พระราชา สามารถนำมาปรับใช้ ในชีวิตประจำวันของนักเรียนและครอบครัวได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70






ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,836