การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

โดย: โสภาพร ไสยแพทย์ [IP: 27.55.74.xxx]
เมื่อ: 2022-08-28 12:30:26
บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ 2) สร้างและ

ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ และ 4) เพื่อประเมิน

รูปแบบ ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) สร้างและตรวจสอบ

คุณภาพของรูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นครู

จำนวน 63 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้

คือ 1) แบบวัดความรู้ด้านการวิจัยในชั้นเรียน 2) แบบวัดความสามารถด้านการวิจัยในชั้น

เรียน 3) แบบประเมินคุณภาพรายงานวิจัยในชั้นเรียน 4) แบบวัดเจตคติต่อการวิจัยในชั้น

เรียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบ 6) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อรูปแบบ

วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน

และแบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยที่พบ

1) ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ คือ แนวคิดการนิเทศแบบชี้แนะ การนิเทศแบบ

พี่เลี้ยง การนิเทศแบบคลินิก และหลักการทรงงาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" และศาสตร์

พระราชา "การมีส่วนร่วม" นำมาบูรณาการกันเป็นรูปแบบการนิเทศที่เหมาะสม

2) รูปแบบการนิเทศมีความเหมาะสมมาก มี5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ

วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการนิเทศ และการวัดและประเมินผล โดยมีกระบวนการนิเทศ

5 ขั้นตอน คือ กำหนดสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ วางแผนและกำหนดทางเลือก

ลงมือปฏิบัติการ ตรวจสอบและประเมินผล และเผยแพร่ผลการดำเนินงาน

3) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า ครูมีความรู้ ความสามารถ และมีเจตคติต่อ

การวิจัยในชั้นเรียนสูงกว่าก่อนนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4) ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศมากที่สุด

คำสำคัญ : รูปแบบการนิเทศ สมรรถนะวิจัย

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,808