การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนว คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับน

โดย: นางสาววันวิสา วงสาสนธ์ [IP: 184.22.138.xxx]
เมื่อ: 2022-08-25 20:41:01
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนว

คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (PARSUP Model)

ผู้วิจัย นางสาววันวิสา วงสาสนธ์

ปีที่ทำวิจัย 2564



บทคัดย่อ



การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (PARSUP Model) 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนว คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (PARSUP Model) 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (PARSUP Model) และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตาม แนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 (PARSUP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียน เมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) สำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบสังเกต 5) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียน กลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (PARSUP Model) 6) เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (PARSUP Model) ประกอบด้วย คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ 7) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผล ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (PARSUP Model) จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้ 7.1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 7.2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 7.3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วย t - test (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (PARSUP Model) จากการวิเคราะห์เอกสาร การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสัมภาษณ์ครูผู้สอน พบว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเมืองพัทยา 7 (บ้านหนองพังแค) ครูผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งการส่งเสริมให้มีทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการคิด ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะการใช้ชีวิต เน้นการส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การศึกษาค้นคว้าในทุกที่ ทุกเวลา ทั้งที่บ้านและในเวลาว่างนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้นักเรียนมีการคิดวิเคราะห์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

2. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (PARSUP Model) พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PARSUP Model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 มอบหมายให้เรียนรู้ปัญหา (P : Problem) ขั้นที่ 2 ตอบคำถาม (A : Answer) ขั้นที่ 3 ค้นคว้าแสวงหาสารสนเทศ (R : Research) ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้ (S : Synthesize Knowledge) ขั้นที่ 5 สรุปความรู้และประเมินผล (U : Update Knowledge) และ ขั้นที่ 6 นำเสนอและถ่ายทอดความรู้ (P : Present) 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ปัจจัยสนับสนุนการนำรูปแบบไปใช้ โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PARSUP Model ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 77.57/78.43 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75

3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (PARSUP Model) มีดังนี้

3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (PARSUP Model) เท่ากับ 77.82/79.55 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75

3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

3.3 ผลการทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนว คอนสตรัคติวิสต์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (PARSUP Model) พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบห้องเรียนกลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (PARSUP Model) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D. = 0.48)


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,863