การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา ที่ส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

โดย: นางสาวกันนิภา ขอพรกลาง [IP: 110.49.14.xxx]
เมื่อ: 2022-08-24 09:47:20


ผู้วิจัย นางสาวกันนิภา ขอพรกลาง

สถานศึกษา โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

กระทรวงมหาดไทย

ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2564



บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา สภาพ ปัญหา และความต้องการ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้

รายวิชาชีววิทยา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อประเมินและขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา

ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างในขั้นขยายผล คือ นักเรียนี่กำลังศึกษาอยู่

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่ม 3 ภาคเรียนที่ 2

ปีการศึกษา 2564 จำนวน 54 คน ซึ่งได้มาโดยการการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา 2)แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)



ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชา

ชีววิทยา ดำเนินการโดยใช้หลักการวิจัยและพัฒนาของ (Research and Development) มาเรียม นิลพันธุ์ (2555: 230) และประยุกต์ร่วมกับแนวคิดระบบการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ADDIE Model โดย Kuse และการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงระบบของ Dick Carey and Carey เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และสังเคราะห์เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยมีแนวคิด ทฤษฎีพื้นฐานดังนี้ 1) ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) 2)การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning : PBL) และ 3) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) มาสังเคราะห์เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ขึ้นใหม่

2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้นใช้ มีชื่อเรียกว่า “MUSPDA Model”ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ ใช้สถาณการณ์ปัญหาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ผ่านกระบวนการคิดในการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อนำมาสรุปเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจและนำเสนอปัญหา (Motivating and presenting problem :M) ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจปัญหา (Understanding the problems : U) ขั้นที่ 3 ลงมือแสวงหาความรู้ (Searching for knowledge : S) ขั้นที่ 4 นำเสนอแลกเปลี่ยนและสรุปความรู้ (Presenting, exchanging, and summarizing knowledge : P) ขั้นที่ 5 ตรวจสอบความรู้ใหม่(Discovering new knowledge : D) ขั้นที่ 6 การประยุกต์ใช้ความรู้(Applying knowledge : A) 4) การวัดและประเมินผล มี 3 ด้านคือ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ และ

หลังใช้รูปแบบสูงกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลการประเมินและขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.52 , S.D.= 0.25) ส่วนนักเรียนกลุ่มขยายผลมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ และหลังใช้รูปแบบสูงกว่าเกณฑ์(ร้อยละ 75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนกลุ่มขยายผลมีความ

พึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.56 , S.D.= 0.25)


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,903