การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
โดย:
นายวัชรศักดิ์ สงค์ปาน (ผู้อำนวยการโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย)
[IP: 61.19.27.xxx]
เมื่อ: 2022-08-10 13:36:05
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และ
คณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP)
โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต
ผู้รับผิดชอบ นายวัชรศักดิ์ สงค์ปาน
ผู้อำนวยการโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2564
*******************************************************************************************
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ คณะผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 221 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) รวมทั้งสิ้น 23 คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จำนวน 13 คน และครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 6 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายตามตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) รวมทั้งสิ้น 198 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 52 คน นักเรียน จำนวน 73 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 73 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น จำนวน 221 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวน 2 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบสำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นคณะผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้รับผิดชอบโครงการ ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามสำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามครูผู้สอนและนักเรียน และชุดที่ 3 เป็นแบบสอบถามสำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน และแบบบันทึกข้อมูล จำนวน 6 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 2) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 3) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 4) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 5) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 และ 6) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรางวัลความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการประเมิน ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนกลยุทธ์ของโรงเรียน หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยและความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนในระดับมากที่สุด และกิจกรรมการทักษะความรู้ ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมีความชัดเจนในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ปัจจัยนำเข้าในการดำเนินการโครงการ ทั้งในด้านคุณลักษณะครูผู้สอน คุณลักษณะนักเรียน ครูและบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานศึกษา วัสดุอุปกรณ์ และระยะเวลาในการดำเนินโครงการ มีความพร้อมและเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ด้านกระบวนการดำเนินการเรื่องการบริหารหลักสูตร การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การพัฒนาศักยภาพครู และการส่งเสริมศักยภาพนนักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการมีระดับการปฏิบัติและความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิตของโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ค่าเฉลี่ย GPA มากกว่า 3.50 ความพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 93.33 จำนวนนักเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด คือ ค่าเฉลี่ยแต่ละรายวิชามีคะแนนสูงกว่าร้อยละ 60 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 คิดเป็นร้อยละ 89.17 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ระดับดี – ดีมาก มีค่าเฉลี่ย ≥ ร้อยละ 90 คิดเป็นร้อยละ 100 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม ผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนตามหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ระดับดี – ดีมาก มีค่าเฉลี่ย ≥ ร้อยละ 90 คิดเป็นร้อยละ 100 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม ผลการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2564 พบว่านักเรียนสามารถสอบเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ร้อยละ 100 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม และผลการแข่งขันจนได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป ร้อยละ 96.43 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม
คณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP)
โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต
ผู้รับผิดชอบ นายวัชรศักดิ์ สงค์ปาน
ผู้อำนวยการโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2564
*******************************************************************************************
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ คณะผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 221 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) รวมทั้งสิ้น 23 คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จำนวน 13 คน และครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 6 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายตามตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) รวมทั้งสิ้น 198 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 52 คน นักเรียน จำนวน 73 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 73 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น จำนวน 221 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวน 2 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบสำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นคณะผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้รับผิดชอบโครงการ ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามสำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามครูผู้สอนและนักเรียน และชุดที่ 3 เป็นแบบสอบถามสำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน และแบบบันทึกข้อมูล จำนวน 6 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 2) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 3) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 4) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 5) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 และ 6) แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรางวัลความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการประเมิน ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนกลยุทธ์ของโรงเรียน หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยและความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนในระดับมากที่สุด และกิจกรรมการทักษะความรู้ ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมีความชัดเจนในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ปัจจัยนำเข้าในการดำเนินการโครงการ ทั้งในด้านคุณลักษณะครูผู้สอน คุณลักษณะนักเรียน ครูและบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานศึกษา วัสดุอุปกรณ์ และระยะเวลาในการดำเนินโครงการ มีความพร้อมและเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ด้านกระบวนการดำเนินการเรื่องการบริหารหลักสูตร การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การพัฒนาศักยภาพครู และการส่งเสริมศักยภาพนนักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการมีระดับการปฏิบัติและความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิตของโครงการห้องเรียนพิเศษหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Gifted Program - Science Mathematics Program : SMP) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ค่าเฉลี่ย GPA มากกว่า 3.50 ความพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 93.33 จำนวนนักเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด คือ ค่าเฉลี่ยแต่ละรายวิชามีคะแนนสูงกว่าร้อยละ 60 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 คิดเป็นร้อยละ 89.17 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ระดับดี – ดีมาก มีค่าเฉลี่ย ≥ ร้อยละ 90 คิดเป็นร้อยละ 100 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม ผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียนตามหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ระดับดี – ดีมาก มีค่าเฉลี่ย ≥ ร้อยละ 90 คิดเป็นร้อยละ 100 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม ผลการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2564 พบว่านักเรียนสามารถสอบเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ร้อยละ 100 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม และผลการแข่งขันจนได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป ร้อยละ 96.43 ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีเยี่ยม
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments