การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โดย: นางสาวรัตนากร พระโพ [IP: 1.4.186.xxx]
เมื่อ: 2022-08-10 13:12:20
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิด

วิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้ศึกษา นางสาวรัตนากร พระโพ

โรงเรียน เทศบาลเมืองท่าบ่อ (ท.1) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าบ่อ

ปีที่ศึกษา 2564



บทคัดย่อ



การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดย 2.1) เปรียบเทียบความสามารถในการในการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์จากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ (ท.1) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าบ่อ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 5 ห้อง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ

(ท.1) จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ประกอบด้วย 4 เรื่อง และชุดกิจกรรม 66 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 21 แผน (ทั้งนี้ไม่รวมแผนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน) แบบวัดความสามารถทางด้านการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and evelopment : R&D) ออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนตามแนวการสอนของ Joyce and Weil (2009) ภายใต้แนวคิดและทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) (ทิศนา แขมณี . 2551) ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีหลักและวิธีการเชิงคุณภาพเป็นรอง (Creswell and Clark. 2001) ส่วนรูปแบบการวิจัยประยุกต์ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (มาเรียม นิลพันธุ์. 2555) ดำเนินการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Design and Development : D and D) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำไปทดลองใช้ (Implementation : I) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอน (Evaluation : E)



ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

1.1 สภาพการการอ่านหนังสือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2562 โดยเฉลี่ยใช้เวลาในการอ่านน้อยกว่า 30 นาทีใน 1 วัน และประเภทหนังสือที่อ่านคือ โดยส่วนใหญ่เป็นการอ่านขอความในสื่อสังคมออนไลน SMS , E-mail (เชน ขอความขาว , บันเทิง , คติสอนใจ , ความเคลื่อนไหวของบุคคลที่มีชื่อเสียง ฯลฯ มากกว่าที่จะอ่านหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร นวนิยาย การตูน แบบเรียน ตําราเรียนตามหลักสตูร เอกสาร บทความที่ใหความรูตาง ๆ ความรูทั่วไป เอกสารบทความทางศาสนาทั้งที่เปนรูปเลม เอกสาร สื่อเล็กทรอนิกส

1.2 สื่อที่ใชอานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ สื่อสังคมออนไลน (เชน Line , Face book , Instagram, Twitter ฯลฯ ซึ่งมีเนื้อหาสาระอยู่ในประเภทบันเทิง โดยจะชอบใช้เวลาในการอ่านส่วนใหญ่อยู่ที่บ้านและไม่นิยมยืมหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์กลับไปอ่าน ซึ่งจุดประสงค์ในการอ่านส่วนใหญ่เพื่อเพื่อเพิ่มขึ้นพูนความรู้ โดยมีแรงจูงใจในการอ่านมาจากพอ แมครอบครัว สงเสริมใหรักการอาน และประโยชน์ที่ได้จากการอ่านส่วนใหญ่เพื่อให้เกิดความสุข สนุกสนานเพลิดเพลิน

1.3 สาเหตุหลักที่ทําใหทานอานหนังสือนอย ส่วนใหญ่มาจากการไมชอบอาน หรือไมสนใจที่จะอ่าน ซึ่งวิธีการที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการอ่านส่วนใหญ่คือ ควรสงเสริมให้กิจกรรมห้องสมุด หรือกิจกรรมรักการอ่าน

2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน จากการศึกษาและ

วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานช่วยให้สามารถออกแบบและเขียนโครงร่างรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการ และการวัดและประเมินผล โดยสามารถกำหนดเนื้อหา กิจกรรม สื่อและการประเมินผลได้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพการนำไปใช้ในชั้นเรียนได้จริงส่งผลให้องค์ประกอบของโครงร่างรูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า

3.1 รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.31/86.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80

3.2 ความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยรวมอยู่ในระดับดี และมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.3 รูปแบบการเรียนการสอนส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด




ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,623