รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 256

โดย: ศิวพร กาจันทร์ [IP: 110.77.138.xxx]
เมื่อ: 2022-07-18 15:45:20
บทสรุปผู้บริหาร

รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เฉพาะ การประเมินเพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC 2) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2564 3) ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ที่มีต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปี การศึกษา 2564 4) คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น 4.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในรายวิชาพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 และ 4.2) ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจาการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วยกลุ่มบุคคล 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) คณะกรรมการนิเทศภายใน จำนวน 21 คน 2) ครูผู้สอน จำนวน 138 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน 4) ผู้เรียน ซึ่งเป็นผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 923 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 7 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ซึ่งทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.84-0.98 และ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาพื้นฐาน แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน แบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาของผู้เรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 ตามสภาพจริงตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้

1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายในมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 4.62 , S.D.=0.45) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น

2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายใน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 4.70 , S.D.=0.42) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็น

3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 4.89 , S.D.=0.30) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การและเมื่อพิจารณาเป็นรายการของแต่ละด้าน พบว่า ด้านการกำหนดเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X ̅ = 4.91 , S.D.=0.29) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ การประเมิน รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้นำสู่การปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 4.90 , S.D.=0.30) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้านการวางแผนและออกแบบการนิเทศมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (X ̅ = 4.87 , S.D.=0.33) โดยผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด

4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่

4.1 ระดับคุณภาพการนิเทศภายในของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 4.80 , S.D.=0.42) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการผู้บริหาร และคณะครู รู้ชัดในปัญหา การจัดกระบวนการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X ̅ = 4.94, S.D.= 0.23) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ รายการการเปิดโอกาสให้ผู้รับการนิเทศ พัฒนาสื่อ เครื่องมือ และเทคนิค วิธิีการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมการมีภาวะผู้นำในการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 4.92, S.D.= 0.27) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ รายการผู้บริหาร คณะครูและผู้เกี่ยวข้องเรียนรู้และร่วมศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการความจำเป็นของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 4.91, S.D.= 0.29) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากมี 2 รายการ คือ รายการมีการนำเสนอผลการปฏิบัติงานที่ดี (Best Practices) ของครูสู่สาธารณชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.49, S.D.= 0.50) และรายการการนำเสนอผลงาน/ผล การปฏิบัติงานที่ดีของครู โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น นำเสนอต่อที่ประชุมเผยแพร่และนำเสนอทาง website ของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.46, S.D.= 0.50) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและ รายการประเมิน

4.2 ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 4.62 , S.D.=0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการสมรรถนะและศักยภาพความพร้อมของโครงสร้างทางกายภาพมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X ̅= 4.80, S.D.= 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ รายการการประสานความร่วมมือในการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย(X ̅= 4.78, S.D.= 0.42) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ รายการการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบทีม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.74, S.D.= 0.44) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงระบบการทำงานกับเทคโนโลยีเพื่อให้ครูสามารถใช้งานได้ทันต่อความต้องการมีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 4.43, S.D.= 0.50) อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและรายการประเมิน

4.3 ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ที่มีต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 4.55 , S.D.=0.48) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบทีมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X ̅= 4.73, S.D.= 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ รายการการแสวงหาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และรายการสมรรถนะและศักยภาพความพร้อมของโครงสร้างทางกายภาพ ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากันอยู่ในระดับมากที่สุดคือ (X ̅= 4.67, S.D.= 0.47) รองลงมาคือ รายการการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.60, S.D.= 0.49) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ รายการการสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงระบบการทำงานกับเทคโนโลยีเพื่อให้ครูสามารถใช้งานได้ทันต่อความต้องการ มีค่าเฉลี่ย (X ̅= 4.40, S.D.= 0.49) อยู่ในระดับมาก

4.4 คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น

4.4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระฯ ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้เกณฑ์การประเมินจากมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ปีการศึกษา 2564-2566 พบว่า โดยภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระฯ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) = 3.00 อยู่ในระดับคุณภาพยอดเยี่ยม สำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระฯ ของผู้เรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) = 3.37 เมื่อนำไปพิจารณากับเกณฑ์ การประเมินจากมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ปีการศึกษา 2564-2566 พบว่า อยู่ในระดับคุณภาพยอดเยี่ยม

4.4.2 ผลการประเมินสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้เกณฑ์การประเมินจากมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ปีการศึกษา 2564-2566 พบว่า โดยภาพรวมผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการประเมินสมรรถนะที่สำคัญทั้ง 5 ด้าน ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 74.32 มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ สำหรับผลการประเมินสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 มีผลการประเมินสมรรถนะที่สำคัญทั้ง 5 ด้าน ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 79.71 มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ

4.4.3 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้เกณฑ์การประเมินจากมาตรฐานการศึกษาโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ปีการศึกษา 2564-2566 พบว่า โดยภาพรวมผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง 8 ข้อ ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 79.78 มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ สำหรับผลการประเมินสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง 8 ข้อ ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 85.69 มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม



สรุปผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2564 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกด้าน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระฯ ผลการประเมินสมรรถนะที่สำคัญและมีผล การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง 8 ข้อ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้เกณฑ์การประเมินจากมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 ปีการศึกษา 2564-2566 สูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดในมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน






ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,505