รายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้คำคล้องจองควบคู่กิจกรรมการฝึกเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสา

โดย: นางสาวนูรีซัน เซ็ง [IP: 184.22.141.xxx]
เมื่อ: 2022-04-30 23:18:13
ชื่อผลงาน รายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้คำคล้องจองควบคู่กิจกรรมการฝึกเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสาเมาะ

ชื่อผู้นำเสนอ นางสาวนูรีซัน เซ็ง

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การศึกษาปฐมวัย

ปีการศึกษา 2563

รายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้คำคล้องจองควบคู่กิจกรรมการฝึก เพื่อ พัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสาเมาะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 มีวัตถุประสงค์ในการทดลอง ดังนี้(1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมโดยใช้คำคล้องจองควบคู่กิจกรรมการฝึกของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสาเมาะ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาด้านการฟังและ การพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสาเมาะ ระหว่างก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้ คำคล้องจองควบคู่กิจกรรมการฝึก และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสาเมาะ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมโดยใช้คำคล้องจองควบคู่กิจกรรมการฝึก ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1-2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านสาเมาะ จำนวน 56 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 จำนวน 27 คน เป็นการสุ่มแบบเจาะจง ที่ผู้รายงานเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ (1) กิจกรรมโดยใช้คำคล้องจองควบคู่กิจกรรมการฝึก เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสาเมาะ จำนวน 25 กิจกรรม (2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การจัดกิจกรรมโดยใช้คำคล้องจองควบคู่กิจกรรมการฝึก เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสาเมาะ จำนวน 25 แผน (3) แบบประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสาเมาะ จำนวน 45 ข้อ และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสาเมาะ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมโดยใช้คำคล้องจองควบคู่กิจกรรมการฝึก จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (Arithimetic:Mean: x ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)

สรุปผลการทดลอง พบว่า

1. แผนการจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมโดยใช้คำคล้องจองควบคู่กิจกรรมการฝึกของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสาเมาะ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 90.57/93.40

2. ทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสาเมาะ หลังการจัดกิจกรรมโดยใช้คำคล้องจองควบคู่กิจกรรมการฝึกสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม

3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านสาเมาะ มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมโดยใช้คำคล้องจองควบคู่กิจกรรมการฝึกอยู่ในระดับมาก


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,295