การประเมินโครงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียน โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ ปีการศึกษา 2562

โดย: นายทรงศักดิ์ ชาวไพร [IP: 182.52.105.xxx]
เมื่อ: 2022-04-29 16:57:49
บทคัดย่อ

การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ๑) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ๒) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ๓) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ๔) ด้านผลผลิต (Product Evaluation ) โดยการประเมินพฤติกรรมนักเรียนด้านทักษะชีวิตและอาชีพ ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับ ผู้อื่น ๕) ด้านผลกระทบของโครงการ ( Impact) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินโครงการของแด เนียล แอล สตัฟเฟิลบีม ( Danial L. Stufflebeam ) หรือแบบจําลองซิปป์ ( CIPP Model) กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ๓ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน ๔ คน ครูผู้เกี่ยวข้อง ๓๒ คน ตัวแทนหน่วยงานภายนอก ๗ คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง นักเรียนจํานวน ๒๐๓ คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นกําหนดขนาดกลุ่มตามสัดส่วนของประชากร ในแต่ละชั้น จากนั้นในแต่ละกลุ่มกําหนดผู้ให้ข้อมูลโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ( Simple Random Sampling ) ผู้ปกครองจํานวน ๒๐๓ คน ได้มาจากผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) ๕ ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประเมินได้ทําการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน ผลการ ประเมินทั้ง ๕ ด้าน พบว่า

๑. ผลการประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ พบว่า ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาและครูผู้เกี่ยวข้อง เห็นว่า มีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการ นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๖ นโยบายโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ รวมทั้งปัญหาและความต้องการของโรงเรียน โดยภาพรวม พบว่าทุกรายการมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ๔.๗๓ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.๕๕ ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด คือ ค่าเฉลี่ย 2 ๔.๕๑ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ผ่านเกณฑ์การประเมิน

๒. ผลการประเมินความเหมาะสมหรือความเพียงพอด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของการดําเนินการโครงมีความเพียงพอและเหมาะสม โดยผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้เกี่ยวข้อง มีความคิดเห็นโดยภาพรวม พบว่า ทุกรายการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มี ค่าเฉลี่ย ๔.๖๑ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๖๘ ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด คือ ค่าเฉลี่ย 2 ๔.๕๑ ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ผ่านเกณฑ์การประเมิน

๓. ผลการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการ (Process Evaluation) ดําเนินงาน โครงการ โดยความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้เกี่ยวข้อง นักเรียนและหน่วยงาน ภายนอก โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ๔.๕๙ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.๗๐ ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด คือ ค่าเฉลี่ย 2 ๔.๕๑ ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ผ่านเกณฑ์การประเมิน

๔. ผลการประเมินด้านผลผลิตของด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยการประเมิน พฤติกรรมนักเรียนหลังดําเนินโครงการ ตามความเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง นักเรียน ตัวแทนหน่วยงานภายนอก ตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมนักเรียนมีพฤติกรรมทักษะชีวิตและอาชีพ ๔ ด้าน อยู่ ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ๔.๖๗ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๕๔ ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ กําหนด คือ ค่าเฉลี่ย 2 ๔.๕๑ ดังนั้นการประเมินโครงการด้านผลผลิต (Product Evaluation) ผ่าน เกณฑ์การประเมิน

๕. ผลการศึกษาด้านผลกระทบของโครงการ ( Impact) ที่เกิดจากการดําเนินโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ๔.๖๔ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๖๕ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผลกระทบต่อโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ๔.๖๗ ส่วน เบียงเบนมาตรฐาน 0.5% รองลงมา คือ ผลกระทบต่อผู้ปกครองและชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด มี ค่าเฉลี่ย ๔.๖๒ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๖๙


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,142,063