การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึก

โดย: วิภาวดี คำแดง [IP: 182.232.82.xxx]
เมื่อ: 2022-02-26 20:52:27
บทคัดย่อ



การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ และ 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีขั้นตอน การดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และระยะที่ 4 การประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 จำนวน 30 คน ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษ โดยมีวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยใน การสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดขั้นสูง 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 6) แบบวัดความพึงพอใจต่อรูปแบบ การเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ t–test (Dependent)

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน โดยใช้การเรียนแบบผสมผสานและแนวคิดทฤษฎีสนับสนุน ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ซึ่งในขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มี 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างองค์ความรู้ใหม่ ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างความขัดแย้งทางปัญญา 3.(1) ขั้นการฝึกทักษะโดยการชี้แนะ (3.2) ขั้นการฝึกทักษะอย่างอิสระ ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปโครงสร้างใหม่ทางปัญญา และขั้นที่ 5 ขั้นการนำไปใช้ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏดังนี้

2.1 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดขั้นสูง ด้านการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง

สถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด




ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,141,817